วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุป องค์กรที่กลยุทธ์ธุรกิจต้องการประสิทธิภาพ

      องค์กรที่กลยุทธ์ธุรกิจต้องการประสิทธิภาพของกระบวนการควรใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้แบบ Codification Strategy ส่วนองค์กรที่กลยุทธ์ธุรกิจต้องการนวัตกรรมในสินค้าหรือกระบวนการผลิตสินค้าควรใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้แบบ Personalization Strategyนอกจากนั้น KM Initiative ควรรองรับวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ธุรกิจ วัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการข้อมูล คือ เพื่อลดความไม่แน่นอนและความกำกวมอันเนื่องมาจากมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอ (equivocality) ซึ่งอาจทำให้เกิดการตีความที่ขัดแย้งกัน องค์กรที่ต้องการนวัตกรรมจะพบปัญหาความกำกวมในการตีความ จึงต้องการช่องทางการสื่อสารที่ให้ข้อมูลที่ชัดแจ้ง เช่นการพูดคุยกันซึ่งหน้า ส่วนองค์กรที่ต้องการประสิทธิภาพอาจพบปัญหาเรื่องความกำกวมในการตีความน้อยกว่า กลยุทธ์แบบ Codification Strategyจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้มากกว่า

        เป็นไปได้ที่บางองค์กรใช้ทั้งสองกลยุทธ์  Codification และ Personalization ไม่ใช่กลยุทธ์ที่อยู่กันคนละขั้วแต่เป็นกลยุทธ์ที่สามารถผสมผสานกันได้ ตัวอย่างเช่นบางบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานจะใช้ Codification Strategy เป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ใช้การปรึกษาหารือหรือคุยข่าว (newsgroup) เป็นช่องทางให้พนักงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และผลงานของตนกันได้โดยตรง ยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัดว่าบริษัทที่ใช้ทั้งสองกลยุทธ์นั้นประสบความสำเร็จดีขึ้นเพียงใด แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าการใช้กลยุทธ์แบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียวน่าจะคับแคบไป เช่นการใช้ Codification Strategy และการใช้ความรู้เก่าซ้ำๆ อาจไม่เพียงพอที่จะรับกับความผันผวนและพลวัตในตลาด ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าการให้โอกาสบุคลากรได้มาพบปะหารือกันจะทำให้เกิดนวัตกรรม หากไม่มีการนำความรู้ที่เกิดขึ้นจากการนั้นไปใช้ และยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนพอที่จะกล่าวว่า การจับคู่กลยุทธ์ระหว่าง Efficiency กับ Personalization และระหว่าง Innovation กับ Codification จะทำให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานที่ต่ำลง

อุปสรรคของการจัดการความรู้

      อุปสรรคของการจัดการความรู้
  จากผลการศึกษาที่ทำขึ้นเร็วๆนี้ที่ว่าลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศน่าจะมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมขององค์กร ต่อการปฏิบัติและความสำเร็จของการจัดการความรู้ องค์กรที่มีวัฒนธรรมให้ความสำคัญกับการแบ่งชั้นของอำนาจ (Power distance) และสถานภาพทางสังคมอาจส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะแบ่งปันความรู้ ต่อทิศทางการเคลื่อนไหลของความรู้ ต่อการเข้าถึงความรู้ และขัดขวางความสำเร็จของกลยุทธ์การจัดการความรู้ วัฒนธรรมถือชั้นถืออำนาจน่าจะมีการแบ่งปันความรู้น้อย นั่นหมายความว่า กลยุทธ์การจัดการความรู้แบบหนึ่งๆอาจมีประสิทธิผลที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

10 กลยุทธ์ในการจัดการปัญหาการจัดการความรู้

1. ควรมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวม และถ่ายโอนข้อมูล
2. เก็บเกี่ยวความรู้จากภายนอกองค์กรอย่างเป็นระบบ : องค์กรต้องมองสิ่งต่างๆ ภายนอกองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่มีคุณค่า โดยการศึกษาผลการปฎิบัติงาน และทักษะในการทำงานขององค์กรอื่นๆ
3. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภายในองค์กร : เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันการเรียนรู้ภายในองค์กร เช่น จัดกิจกรรมแรลลี่ การประชุมสังสรรค์ที่เชิญลูกค้า ซัพพลายเออร์ ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เพื่อร่วมแบ่งปันความคิด และเรียนรู้กันและกัน
4. ผลักดันให้พนักงานคิดและเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ : การเรียนรู้ผู้อื่นแต่เพียงอย่างเดียว จะทำให้บริษัทพัฒนาตนเองแบบค่อยเป็นค่อยไป บริษัทควรส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น การให้รางวัลสำหรับความคิด จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการเกี่ยวกับความคิดเชิงสร้างสรรคื กระตุ้นการระดมสมองเพื่อให้ได้ความคิดที่ดีๆ
5. องค์กรควรมีการกระตุ้น และให้รางวัลแก่ผู้สร้างนวัตกรรม : เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขององค์กร และเพื่อความสำเร็จขององค์กร ด้วยการสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่างๆ และควรมีการวิเคราะห์ผลที่ได้รับด้วย
6. จัดฝึกอบรมพนักงานในเรื่องการจัดเก็บ และการเรียกข้อมูลกลับมาใช้ : ควรจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ในระบบข้อมูลส่วนกลางขององค์กร เพื่อให้พนักงานมีการเชื่อมต่อเข้ากับข้อมูลศูนย์กลาง เพื่อค้นหาข้อมูลไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
7. เพิ่มการถ่ายโอนความรู้อย่างไม่มีคิดจำกัด : การหมุนเวียนการทำงาน และการทำงานแบบทีมผสม ถือเป็นวิธีถ่ายโอนความรู้ภายในองค์กรที่มีประสิทธิผลมากที่สุด
8. สร้างฐานความรู้ให้ตรงตามความต้องการในการเรียนรู้ และตามค่านิยมขององค์กร
9. สร้างกลไกในการรวบรวม และจัดเก็บสิ่งที่ได้เรียนรู้ : เช่น ทุกๆ 3 เดือน ให้พนักงานแต่ละคนได้รับเอกสารเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้เพิ่มเข้าไปในระบบของบริษัท หรือพนักงานจะต้องส่งสรุปรายการเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากโครงการที่ตนรับผิดชอบ
10. การถ่ายโอนความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในการปฎิบัติงานจริง

ขั้นตอนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การถอดความรู้ (Capture Knowledge) 
               การถอดความรู้  หมายถึง วิธีการในการรวบรวมความรู้  ประสบการณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจากผู้เชี่ยวชาญจากในองค์กร
ขั้นที่ 1 การกำหนดความรู้ (Identify Knowledge)
              การกำหนดความรู้  หมายถึง การพิจารณาของผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ เพื่อระบุว่าความรู้อะไรบ้างที่บุคลากรในองค์กรจำเป็นต้องรู้  โดยพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าหมายของหน่วยงาน  โดยความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการ   ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ  ประสบการณ์ความรู้ด้านกระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญขององค์กรสั่งสมมายาวนาน  ซึ่งความรู้เหล่านี้จะช่วยทำให้บุคลากรสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง  พัฒนางานให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้
ขั้นที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญของความรู้(Set Piority of Knowledge)
               การจัดลำดับความสำคัญของความรู้  หมายถึง  การเรียงลำดับความสำคัญว่าความรู้อะไรบ้างที่จำเป็นมากที่สุดและรองลงไปตามลำดับความสำคัญในการปฏิบัติงาน  โดยพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมถึงเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ขององค์กรเป็นอย่างไร  จึงทำให้ทราบว่าความรู้ใดที่บุคลากรจำเป็นต้องใช้ประกอบในการปฏิบัติบัติงานให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้  ถ้าหากไม่มีความรู้เรื่องนั้นจะส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงถ้าหากองค์กรสามารถค้นหาความรู้เรื่องนั้นได้  จะทำให้การพัฒนาบุลากรตรงตามเป้าหมายขององค์กรได้
                
ขั้นที่ 3 การแสวงหาความรู้ (Acquisition Knowledge)
               การแสวงหาความรู้  หมายถึง  การค้นหาจากแหล่งความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานโดยดำเนินการวิเคราะห์ถึงแหล่งความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมี  และที่มีอยู่เหล่านั้นจะมาจากที่ใดบ้าง  เช่น  ผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์  ห้องสมุด  งานวิจัย  เอกสาร ตำรา จุลสาร  วารสารเป็นต้น  ยกตัวอย่างเช่น  การจัดทำทำเนียบผู้เชี่ยวชาญขององค์กร  โดยการระบุรายชื่อของผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรว่ามีใครบ้าง ซึ่งอาจจะมาจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เพราะการมีรายชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อ ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถติดต่อ  สอบถามหรือปรึกษาปัญหาการทำงานได้อย่างสะดวก   เพราะการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล คือ การลดค่าใช้จ่าย  การลดเวลาการทำงานให้น้อยลง  ดังนั้นเมื่อผู้ปฏิบัติงานประสบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้  แต่มีรายชื่อผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวก็จะทำให้การทำงานเกิดความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นเช่น รายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยเชิงคุณภาพของมหาวิทยาลัยมีใครบ้าง  เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวก  และช่องทางในการติดต่อที่สามารถสื่อสารระหว่างกันตามความเหมาะสมขององค์กร  อาจจะเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 
(E-mail) เป็นต้น

ขั้นที่ 4 การสกัดความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)  
            การสกัดความรู้ หมายถึง การสรุป การประมวลผล  และการกลั่นกรองจากการถอดองค์ความรู้ บทเรียนจากการเรียนรู้ (Lesson Learned)   และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าขององค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในองค์กร  โดยสามารถใช้วิธีเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์ (Interview)  การสังเกต (Observe)  การสนทนนา (Dialogue)  การประชุม (Meeting)  การอภิปราย  (Discussion) การบรรยาย (Lecture)  การสังเคราะห์เอกสาร(Synthesis Document)  เป็นต้น   หลังจากนั้นนำองค์ความรู้ที่ได้มาสรุปในลักษณะของแผนผังความคิด (Mind Map) แผนผังกระบวนการ (Flow Chart) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Workflow) ฯลฯ  ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความสะดวกของผู้นำความรู้ดังกล่าวไปใช้งานเป็นหลัก
ขั้นที่ 5 การตรวจสอบความถูกต้อง (Validating  Knowledge) 
               การตรวจสอบความถูกต้อง  หมายถึง  วิธีการประเมินความถูกต้อง  ความเหมาะสม และความสมบูรณ์ของสารสนเทศ  และความรู้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสำคัญของกรถอดความรู้ คือ ความรู้ที่ได้ต้องสามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาในการทำงานต่าง ๆ ได้  ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นความรู้ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนางานและพัฒนาองค์กร
ขั้นตอนที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
                การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการ หรือกิจกรรมที่สร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีหลักที่สำคัญ คือ การให้ความรู้ที่เหมาะสมกับคนและเวลา  สำหรับประเภทของการถ่ายทอดความรู้ Dixon  (2000)  ได้กล่าวไว้   ประเภท  ได้แก่
1.    การถ่ายทอดอย่างต่อเนื่อง (Serial Transfer)  เป็นการเคลื่อนของความรู้ของบุคคลไปสู่กลุ่มหรือ
สาธารณาชนซึ่งสามารถบูรณาการความรู้จนเป็นความรู้ของทุกคนในที่ทำงาน
2.    การถ่ายทอดแบบใกล้ (Near Transfer) เป็นการเกิดซ้ำของการเรียนรู้ของคณะทำงานหนึ่งไปยังคณะทำงานที่ทำงานคล้ายกัน
3.    การถ่ายทอดแบบไกล (Far Transfer) เป็นการเกิดซ้ำของการเรียนรู้ของคณะทำงานหนึ่งไปยังอีกคณะทำงานโดยเฉพาะความรู้ที่ฝังลึก (Tacit Knowledge)  และไม่ใช่งานประจำ
4.    การถ่ายทอดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Transfer) เป็นการถ่ายทอดความรู้หลักที่สำคัญขององค์กรเพื่อให้บรรลุถึงภารกิจตามกลยุทธ์ที่นาน ๆ อาจจะเกิดขึ้นสักครั้ง แต่เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับองค์กร 
5.     การถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert Transfer) สามารถเกิดขึ้นเมื่อคณะทำงานประสบปัญหาด้านเทคนิคที่ผิดปกติซึ่งขึ้นอยู่กับขอบข่ายความรู้ของผู้รับผิดชอบในการค้นหาผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ  ในองค์กรที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้  หากพิจารณาถึงรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระหว่างบุคล ระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์สู่คอมพิวเตอร์  ทั้งนี้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อถูกสนับสนุนด้วยวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรและความไว้วางใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  เพราะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากบุคลากรไม่เห็นคุณค่าของความรู้ และไม่ไว้วางใจว่าความรู้ที่มาจากเพื่อนร่วมงานจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ  ของตนได้
ขั้นตอนที่ 3  การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge  Reuse)
                   การนำความรู้ไปใช้ หมายถึง  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้นำความรู้ที่ได้จากการถอดความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานของตนอย่างต่อเนื่องในองค์กร  โดยสามารถประยุกต์ (Apply) และบูรณาการ (Integrated) ความรู้ ทฤษฏี ประสบการณ์เดิมมาพัฒนาเป็นแนวคิด  เทคนิค  และวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น  เช่น การนำเทคนิคการสอนแบบจิตปัญญาของครูท่านหนึ่งที่ได้รับรางวัล  ในการนำความรู้ไปใช้ในช่วงแรกสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ได้กับนักเรียนในโรงเรียน แต่ในขณะที่ใช้วิธีดังกล่าว  อาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับความสนใจของผู้เรียน  ปัญหาดังกล่าวผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง  รวมถึงการเพิ่มเติมเทคนิควิธีสอนใหม่เข้าไปเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นได้  ทั้งนี้ในการนำความรู้ไปใช้มีเป้าหมายสำคัญ คือ องค์ความรู้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนา  คน  พัฒนางาน  และพัฒนาองค์กร
ขั้นตอนที่ 4  การเก็บรักษาความรู้ (Knowledge Maintenance) 

         การเก็บรักษาความรู้ หมายถึง  กระบวนการทบทวน  ความถูกต้อง  ความทันสมัยของความรู้ก่อนที่จะนำไปใช้ในระบบฐานความรู้ (Knowledge Base)  ขององค์กร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้จากความสำเร็จ (Best Practice)  เทคนิควิธีการ (Know-How) ในการแก้ปัญหาต่างๆในการทำงาน  เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถพัฒนาได้จนกลายเป็นภูมิปัญญา(Wisdom)ขององค์กรได้  เพราะการจัดความรู้ในสังคมไทยปัจจุบันหลายองค์กรได้นำข้อสรุปที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไปไว้บนเว็บไซต์ขององค์กร  โดยบางองค์กรยังไม่เคยนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปทดลองใช้จริง  หากมีการนำไปใช้แล้วพบปัญหา  หรือผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามเจ้าของความรู้  สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการตรวจสอบความถูกต้องความถูกต้องก่อนนำจะนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ให้กับบุคลากรท่านอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป   นอกจากนี้การทบทวนความถูกต้องจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เพราะบริบทแวดล้อมในการทำงานเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ดังนั้น ความรู้ในการทำงนที่ดีจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ  ดังนั้นในการปรับปรุงความรู้จึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องไม่ใช่ทำปีนี้เสร็จแล้วก็จบ  หากนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ซ้ำแล้วผลไม่ได้ตามที่คาดหวัง ผู้ที่รีบผิดชอบในการจัดเก็บความรู้ขององค์กรจะต้องนำมาปรับให้ทันต่อเหตุการณ์ด้วย
ที่มา http://misweb.csc.ku.ac.th/OASKM/?p=330

กลยุทธ์ของการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-KM Strategy)

กลยุทธ์การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นการบูรณาการยุทธศาสตร์จัดการความรู้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่
                   Learning Strategy  เป็นการให้ความสำคัญกับกระบวนการการเรียนรู้ของบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาองค์กรให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
                    Integrated Strategy เป็นกระบวนการบูรณาการการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มาช่วยในการบริหารจัดการความรู้โดยเน้นในรูปแบบของความรู้ที่กระจ่างชัด (Explicit Knowledge)  เฉพาะอย่างยิ่งเน้นในประเด็นของการจัดการจัดเก็บความรู้  การแบ่งปันความรู้เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่  ที่สร้างขึ้นใหม่นั้นสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยได้อีก  ในส่วนนี้จำเป็นต้องมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสนับสนุน
                    Network Strategy  เป็นการให้ความสำคัญกับความรู้ที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย  ไม่ว่าความรู้จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก  หน่วยงานวิจัย  มหาวิทยาลัยทั้งภายในประเภทและต่างประเทศ  รวมถึงความรู้จากองค์กรในอุตสาหกรรมต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย  โดยการสร้างความร่วมมือในรูปแบบของ GUI (G0vernment – University-Industry : GUI) เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมในการถ่ายทอดและบูรณาการความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุก่วนที่เกี่ยวข้อง
                     Knowledge Strategy  เป็นการบริหารจัดการ สร้างและใช้ประโยชน์จากความรู้ภายในมหาวิทยาลัยทั้งในส่วนของความรู้ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นความรู้แฝง (Tacit knowledge) และความรู้แบบกระจ่างชัด (Explicit knowledge) ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้  ถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งสร้างและใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

การจัดการความรู้และกลยุทธ์ทางธุรกิจ

การจัดการความรู้และกลยุทธ์ทางธุรกิจ     
        กลยุทธ์การจัดการความรู้ขององค์กรไม่ใช่เป็นเรื่องของโชค แต่ขึ้นอยู่กับวิธีที่องค์กรใช้ปฏิบัติต่อลูกค้าตามฐานะทางเศรษฐกิจของธุรกิจและต่อบุคลากรขององค์กรนั้นเอง เราไม่ควรมีการจัดการความรู้เพียงเพราะเห็นเขาทำกัน จากนิยามที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า การจัดการความรู้ควรให้ความสามารถในการแข่งขันแก่องค์กร  การจัดการความรู้จึงควรมีความเชื่อมโยงผูกพันกับวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงานในองค์กร หากการจัดการความรู้ไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่องค์กร การจัดการความรู้ก็เป็นเพียงความสิ้นเปลือง ไม่มีประโยชน์ และขัดขวางการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้ ทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรจึงควรเป็นตัวกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมของการจัดการความรู้
                   การวิเคราะห์สถานภาพขององค์กรในอุตสาหกรรม อาจใช้ Five forces model ของ Porterซึ่งเป็นการวิเคราะห์อำนาจหรืออิทธิพลของผู้จัดจำหน่าย (supplier), ลูกค้า (buyer), การคุกคามของสินค้าทดแทน (threat of substitute), คู่แข่ง (industry competitor), และอุปสรรคกีดขวางผู้แข่งขันรายใหม่ (barrier to entry) ที่มีต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งเป็นตัวสร้างอำนาจในการแข่งขันสามประการ คือ การสร้างความแตกต่าง การเป็นผู้นำด้านต้นทุน และการเน้นความสำคัญเฉพาะเรื่อง
                ตามแนวความคิดของ Porter การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้านหนึ่งคือใช้การลดค่าใช้จ่ายเพื่อการเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ อีกด้านหนึ่งคือการใช้เวลา คุณภาพ และการปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่าง การใช้กลยุทธ์ธุรกิจแบบไหนอย่างไรจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมขององค์กรหรือของหน่วยงานในองค์กร ตัวอย่างเช่น ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กรที่อยู่ในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวสูงอาจเกิดมาจากการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรม แต่ในตลาดอื่น ความได้เปรียบอาจสร้างมาจากการผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำ ดังนั้น เราจึงสามารถพัฒนาวัตถุประสงค์หลักของการจัดการความรู้ขึ้นมาเป็นสองอย่าง คือ การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุง
ประสิทธิภาพ (efficiency) และการจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงนวัตกรรม (innovation) กลยุทธการจัดการความรู้จะแปรเปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
                    ความสนใจอยู่ที่ว่าจะใช้การจัดการความรู้มาเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร กลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้แบบไหนที่เหมาะกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและสามารถสร้างความสำเร็จสูงสุดให้แก่ธุรกิจได้ เป็นการยากที่จะศึกษาการจัดการความรู้โดยไม่ได้วิเคราะห์วิสัยทัศน์ของบริษัท การจัดองค์กร และลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัท เราสามารถจัดกลุ่ม KM Initiativeเป็น กลุ่มตามการผสม (combination) ของกลยุทธ์ธุรกิจกับกลยุทธ์การจัดการความรู้ คือ
1.  Codification กับ Efficiency
2.  Efficiency กับ Personalization
3.  Innovation กับ Codification
4.  Innovation กับ Personalization
                  
Innovation กับ Personalization
                   บริษัทที่ต้องการใช้การจัดการความรู้เป็นฐานในกระบวนการจัดการนวัตกรรม ได้กระตุ้นการสร้างสรรและการแลกเปลี่ยนความรู้ให้เกิดขึ้นด้วยการส่งเสริมให้บุคคลากรมีการสื่อสารและร่วมมือกัน (communication and collaboration) วิธีการนี้มีความเหมาะสมเป็นพิเศษในการนำมาใช้กับกระบวนการทำงานซึ่งมีความซับซ้อน ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน สามารถใช้นำมาแก้ปัญหาใหม่ๆ ค้นหาคำตอบเฉพาะเรื่องให้กับลูกค้า และพัฒนานวัตกรรมสินค้า  สมบัติที่ซ่อนในตัวบุคคลซึ่งเรียกว่า Tacit Knowledge เป็นหัวใจของกลยุทธ์แบบ Personalization การแลกเปลี่ยนTacit Knowledge กันโดยตรงในบรรยากาศแบบกันเอง (socialization) เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความรู้และกระบวนการทางนวัตกรรม ความคิดใหม่ๆและความคิดสร้างสรรสามารถเกิดขึ้นได้จากปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่มีภูมิหลังด้านถิ่นที่อยู่ วัฒนธรรม หรือระเบียบชีวิตที่แตกต่างกัน การมีเวทีการอภิปราย การใช้ e-mail การใช้สื่อประเภท TV หรือ Video conference ล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่งเสริมกลยุทธ์แบบ Personalization ได้ทั้งสิ้น

Efficiency and Codification
                   บริษัทที่ใช้การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน จะใช้ฐานข้อมูลและระบบจัดการข้อมูลเพื่อการเผยแพร่หรือกระจายผลการทำงาน (best practices)กลยุทธ์ประเภทสนองวัตถุประสงค์ด้านประสิทธิภาพการทำงานจะเน้นไปที่การนำความรู้ที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องนำบุคคลากรมาแลกเปลี่ยนความรู้และประมวลจากการพูดคุยมาสร้างเป็นความรู้ใหม่ กลยุทธ์การจัดการความรู้ที่เรียกว่า Codification Strategy จะใช้งานได้ดีกับกลยุทธ์ธุรกิจประเภทนี้ ความรู้จะเป็นความรู้ที่ภายนอกตัวคนที่จัดหมวดหมู่ และเก็บไว้ในฐานข้อมูล กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับกิจกรรมที่ทำซ้ำๆหรือเพื่อใช้แก้ปัญหาที่คล้ายของเดิม ปัญหาจะได้รับการแก้ไขได้เร็วขึ้น เป็นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะการทำงานของบุคคลากร องค์กรที่ใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ประเภทนี้จะใช้ Knowledge Database, Data Warehouse และDocument Management เป็นเทคโนโลยีหลัก
ที่มา http://www.hrtraining.co.th/article_detail.php?id=117

การจัดการความรู้

  การจัดการความรู้เป็นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทั้งหลายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ความเร็วของการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ความรู้มีอายุของความทันสมัยที่สั้นลง นวัตกรรมทั้งตัวสินค้าและกระบวนการผลิต การจัดการความรู้จะช่วยให้องค์กรสามารถสรรสร้างนวัตกรรมได้เร็วและมีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่งขัน คำว่า “การจัดการ” ในการจัดการความรู้ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมว่าองค์กรมีความสามารถในการดำรงและตอบโต้ได้อย่างไร ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์กร องค์กรที่เห็นความสำคัญของความรู้จะสร้างความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ ยากต่อการเลียนแบบและสามารถนำมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน การสร้าง เก็บรักษา และยกระดับความรู้จะช่วยให้องค์กรมีความสำเร็จมากขึ้น เราอาจให้นิยามการจัดการความรู้ว่า เป็นกิจกรรมทุกชนิดในการนำความรู้ไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร สามารถเผชิญกับความท้าทายของสภาพแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ และดำรงความได้เปรียบในการแข่งขัน

ความแตกต่างระหว่าง Data, Information, Knowledge
            Data คือข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถนำมาจัดหมวดหมู่และกระจายเผยแพร่โดยไม่ต้องคำนึงถึงบริบทหรือผู้ใช้
            Information จะตรงกันข้ามกับ Data เพราะ Information จะคำนึงถึงบริบท Information อาจเป็น message หรือข่าวคราวซึ่งเป็นผลมาจากการนำ Data มาตีความ Information จึงเป็นเรื่องที่ผู้รับสามารถทำความเข้าใจและมีความหมายสำหรับผู้ใช้
             Knowledge หรือความรู้ เกิดจากกระบวนการที่บุคคลนำ Information มาไตร่ตรอง ความรู้จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีบุคคล ความเชื่อ และประสบการณ์ของบุคคลเป็นบริบท ความรู้จึงเป็นความสามารถที่บุคคลจะนำ Information มาประเมินและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มถ้านำไปใช้ปฏิบัติ 

ประเภทของความรู้
            ความรู้แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
1)      Tacit Knowledge
            คือความรู้เฉพาะของบุคคล ผูกติดอยู่กับตัวบุคคล เป็นการยากที่จะทำให้เป็นแบบเป็นแผนและสื่อสารออกไป ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ที่จะแยก จัดเก็บ และขุดความรู้ทั้งหมดทั้งสิ้นที่มีอยู่ในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
2)      Explicit Knowledge
            คือความรู้ที่สามารถจัดหมวดหมู่ รวบรวม จัดเก็บและกระจายเผยแพร่ออกไปได้ ไม่ผูกติดอยู่กับตัวบุคคลและมีลักษณะคล้ายจะกลายเป็น Data ความรู้ที่เรียกว่า Explicit Knowledge นี้มีรากฐานมาจาก Tacit Knowledge และถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยกระบวนการถ่ายทอดส่วนหนึ่งของTacit Knowledge ที่อยู่ภายในบุคคลให้ออกมาอยู่ภายนอก ให้พอสามารถอธิบายได้ว่ามันคืออะไรแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดขององค์ความรู้ที่มีอยู่ก็ตาม

กลยุทธ์การจัดการความรู้

กลยุทธ์การจัดการความรู้
            มีกลยุทธ์ที่สำคัญในการนำ Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge มาแบ่งปันกันอยู่สองกลยุทธ์ คือ
1)           Codification Strategy
            มีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมความรู้ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล และนำออกใช้อย่างเป็นหมวดหมู่ในรูปที่เป็น Explicit Knowledge ซึ่งการนำ Explicit Knowledge มาใช้ซ้ำผ่านกระบวนการจัดการเช่นนี้จะสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย การออกแบบฐานข้อมูล การบริหารงานเอกสาร และสายการจัดการเพื่อการใช้ข้อมูล จัดเป็นส่วนหนึ่งของ Codification Strategy ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับองค์กรที่กลยุทธ์ทางธุรกิจมีความต้องการใช้ซ้ำความรู้ที่มีอยู่
2)           Personalization Strategy
            เน้นที่การนำ IT มาช่วยบุคคลสื่อสารความรู้ระหว่างกัน มีวัตถุประสงค์ที่จะถ่ายโอน สื่อสาร และแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายความรู้เช่นการอภิปราย หากองค์กรใดมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะสร้างคำตอบใหม่ๆหรือเป็นการเฉพาะให้กับลูกค้าหรือเป็นการสร้างนวัตกรรม องค์กรนั้นควรเลือกกลยุทธ์การจัดการความรู้ประเภท Personalization Strategy มากกว่า Codification Strategy

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดการบริหาร

แนวคิดการบริหาร
1.แนวความคิดการบริหาร/การจัดการสมัยเดิม หรือการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Management)
แนวความคิดการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดย Frederick W. Taylor "บิดาแห่งการจัดการที่มีหลักเกณฑ์" ซึ่งเป็นผู้ต้นคิดสำคัญในการวางหลักการ และทฤษฎีการจัดการที่ถูกต้องขึ้นเป็นครั้งแรก จากการศึกษาวิธีการปฏิบัติงานด้านการผลิตในระดับโรงงานเป็นครั้งแรกนั้น Taylor ได้ประกาศใช้หลักการต่าง ๆ (principles) ที่เขาใช้ในการปฏิบัติงานหรือที่เรียกว่า "การจัดการที่มีหลักเกณฑ์" (scientific management)
นอกจาก Taylor แล้ว นักวิทยาศาสตร์ที่มีแนวคิดนี้ ยังมี
· Henry Gantt : Gantt’s Chart และการประกันค่าจ้างต่ำสุด
· Frank Bunker Gilberth And Lillian Moller Gilbert : Therblig Motion และ Motion study
· Harrington Emerson : The twelve Principle of efficiency
2.แนวคิดแบบมนุษย์สัมพันธ์
· การบริหาร/การจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human relations) เหตุที่แรงงานได้รับความสนใจมากขึ้น ทำให้ความสนใจที่จะเข้าใจในตัวคนงานและความต้องการต่าง ๆ ของคนงานมีมากขึ้นเป็นพิเศษ และทำให้เกิดเรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์ขึ้นมา โดยเฉพาะจากโครงการศึกษาที่โรงงาน “Hawthrone” โดย Elton Mayo
· การบริหาร/การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral sciences) เป็นการศึกษาการจัดการองค์การในแนวใหม่ ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า ทฤษฎีคลาสสิกใหม่ (New classical Theory) การศึกษาเชิงพฤติกรรมให้ข้อคิดเห็นว่า ความต้องการทางอารมณ์และร่างกายของมนุษย์ประกอบเป็นพื้นฐานขององค์การ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เองจากการรวมตัวของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการผลประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน
3.แนวความคิดการบริหาร/การจัดการสมัยใหม่
· การบริหาร/การจัดการแบบการตัดสินใจ(Decision Approach) ในการพิจารณาองค์การและการจัดการนั้นกระบวนการตัดสินใจนับเป็นสิ่งสำคัญของผู้บริหาร ดังที่ เฮอร์เบิร์ท เอ ไซมอน (Herbert A. Simon) ได้ระบุไว้ว่า "การตัดสินใจ" กับ "การจัดการ" เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ที่กล่าวเช่นนี้หมายความว่า การจัดการคือ การตัดสินใจนั่นเอง ดังนั้นผู้บริหารทั้งหลายจึงไม่สามารถจะหลีกหนีจากเรื่องของการตัดสินใจได้
· วิธีการบริหารตามสถานการณ์ (Contigency or Situational Approach) เป็นวิธีวิเคราะห์ในระดับที่ถูกต้องเหมาะสม ที่สามารถพิจารณาปัญหาได้ดี ไม่กว้างเกินไปหรือเฉพาะจุดเกินไป หากแต่จะเป็นการวิเคราะห์ที่ดีที่สุดที่มีความสมดุลในระหว่างหลาย ๆ อย่างที่กระทำได้ คือ สามารถพิจารณาปัญหาได้ชัดแจ้งและง่าย (simplistic) สามารถใช้หลักทฤษฎีต่าง ๆ ได้ถูกต้อง (specific principles) และยังสามารถพิจารณาถึงสิ่งต่างๆที่ยุ่งยากสับสนและไม่ชัดแจ้งได้พร้อมกันอีกด้วย จุดมุ่งหมายของวิธีการตามสถานการณ์นั้นก็คือ "ตัวสถานการณ์" ซึ่งมีอิทธิพลต่อองค์การมากที่สุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และด้วยการมุ่งเน้นถึงความสำคัญของ "การติดตามสถานการณ์" นี้เอง จึงช่วยให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจได้ว่าภายใต้สถานการณ์เฉพาะนั้น ๆ ผู้บริหารควรจะใช้เทคนิคการจัดการอะไร จึงจะทำให้องค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จมากที่สุดได้ วิธีการจัดการตามสถานการณ์ จึงเท่ากับเป็นการช่วยย่นเวลาการสร้างสมประสบการณ์ของนักบริหาร ที่เคยต้องค่อย ๆ พิจารณานำเอาหลักการแต่ละอันมาฝึกฝนประยุกต์ใช้อย่างช้า ๆ ให้สามารถคิดวิเคราะห์กับสถานการณ์ได้ในทันที
· แนวความคิดเชิงระบบ (System Approach) มีความเชื่อว่า การจัดการมีลักษณะต่อเนื่องกันและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งต้องพึ่งพาอาศัยซึงกันและกันของหน่วยงานย่อยต่าง ๆ กับส่วนรวมทั้งหมด ความสำเร็จในการจัดการขององค์การขึ้นอยู่กับการจัดการของทุกระบบมิใช่ะบบหนึ่งระบบใด ความสำเร็จในการจัดการขององค์การซึ่งถือว่าเป็นระบบรวม (Total system) ต้องอาศัยความสำเร็จของระบบย่อยทุกระบบ แนวความคิดเชิงระบบนี้ อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 แนวทาง คือ
1. ระบบปิด หรือ ระบบราชการหรือระบบอย่างเป็นทางการหรือระบบเครื่องจักรกล
2. ระบบเปิด หรือระบบเสรีหรือระบบไม่เป็นทางการหรือระบบเพื่อนฝูง
· แนวความคิดเกี่ยวกับกระบวนการ การพิจารณาตามแนวความคิดนี้ก็คือ ผู้บริหารจะปฏิบัติหน้าที่บริหารด้วยวิธีกระทำเป็นทีละขั้นตอน (step by step) ที่ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไปอย่างเป็นระเบียบโดยไม่ขาดตอนจากกัน ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้
- การวางแผน
- การจัดองค์การ
- การจัดคนเข้าทำงาน
- การสังการ
- การควบคุม

ทรัพยากรในการบริหาร
ทรัพยากรการบริหารหรือปัจจัยพื้นฐาน (Administrative resources) ที่ใช้ในการบริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ
1.คน (Man)
2.เงิน ( Money)
3.วัสดุสิ่งของ (Material)
4.วิธีจัดการ (Management)
หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า 4M.s การที่จัดว่าปัจจัยทั้งสี่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการบริหารก็เพราะเหตุว่า ในการบริหารเกือบทุกประเภทจำเป็นต้องอาศัย คน เงิน วัสดุสิ่งของ และวิธีจัดการเป็นองค์ประกอบสำคัญ ไม่ว่าการบริหารนั้นจะเป็นการบริหารราชการหรือการบริหารธุรกิจก็ตาม จำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรพื้นฐานในการบริหารมีอยู่สี่ประการดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบันได้มีการพิจารณาทรัพยากรการบริหารไปในลักษณะที่มีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ถือว่าปัจจัยหรือทรัพยากรการบริหารได้เพิ่มขึ้นจากปัจจัย 4 ประการที่กล่าวมาแล้ว เช่น ศาสตราจารย์William T. Greenwood ได้ให้ความเห็นว่า ทรัพยากรการบริหารควรมีอย่างน้อย 7 ประการคือ คน (Man)เงิน ( Money) วัสดุสิ่งของ (Material) อำนาจหน้าที่ (Authority) เวลา (Time) กำลังใจในการทำงาน (Will)
และความสะดวกต่าง ๆ (Facilities)

องค์ประกอบของการบริหารจัดการ

การบริหารงาน
  เป็นทั้ง ศาสตร์ และศิลป์ ในแง่ของศาสตร์ คือที่รวมของความรู้ สามารถจัดหมวดหมู่เพื่อการศึกษาได้ ในแง่ของศิลป์ คือเป็นทักษะ เกิดจากความชำนาญในการปฏิบัติงาน มีผู้ให้ความหมายไว้หลายประการ เช่น
1. เป็นการจัดการโดยมนุษย์
2. เป็นการตัดสินใจ และเป็นกระบวนการของการรวบรวมและแจกแจงทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ขององค์การ
3. เป็นความร่วมมือและประสานงานกันระหว่างมนุษย์และทรัพยากรทางวัตถุอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ขององค์การ
4. เป็นการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัย ได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติงานนั้น
5. เป็นการใช้ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น
6. Getting things done through people

โดยมีเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการบริหาร คือ
1. เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
2. ทรัพยากร
3. การประสานงาน
 
องค์ประกอบของการบริหาร
  1. ทรัพยากรหรือปัจจัยการบริหาร (Administrative Resources) ได้แก่ 3M คือ
               1.1 คนหรือบุคลากร (Man)
               1.2 เงินหรืองบประมาณ (Money)
               1.3 วัสดุและอุปกรณ์ (Material)
 
  2. กระบวนการบริหาร (Process of Administration) มีผู้ให้ความเห็นไว้แตกต่างกัน เช่น
                2.1 POCCC ของ Henry Fayal ได้แก่
                Plan คือการวางแผนเพื่อการปฏิบัติงาน
                Organize คือการจัดแบ่งงาน รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์และกำลังคนไปตามหน้าที่ของงาน
                Command คือการบังคับบัญชาและสั่งการแก่บุคคลในหน่วยงาน
                Coordinate คือการประสานงานระหว่างบุคคลในหน่วยงาน
                Control คือการควบคุมให้งานดำเนินไปตามที่กำหนด

                2.2 PODC ได้แก่
                Planning การวางแผน
                Organizing การแบ่งหน่วยงาน
                Directing การสั่งการ
                Controlling การควบคุมงาน

  2.3 POSDCORB ของ Gulick Urwick
               Planning การวางแผน
               Organizing การจัดรูปโครงการของการบริหาร
               Staffing การบริหารงานบุคคลในองค์การหรือหน่วยงาน
               Directing การอำนวยการ
               Coordinating การประสานงาน
               Reporting การบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน
               Budgetting การจัดทำงบประมาณ การเงิน
  3. วัตถุประสงค์ของการบริหาร (Objective) ที่สำคัญคือ 3E ได้แก่
  3.1 Economic ต้องเป็นไปอย่างประหยัด
                3.2 Effectiveness ผลงานมีประสิทธิผล
                3.3 Efficiency มีประสิทธิภาพ
ที่มา http://www.dld.go.th/region3/knowledge/linkfile/admin/management/administration.html