วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุป องค์กรที่กลยุทธ์ธุรกิจต้องการประสิทธิภาพ

      องค์กรที่กลยุทธ์ธุรกิจต้องการประสิทธิภาพของกระบวนการควรใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้แบบ Codification Strategy ส่วนองค์กรที่กลยุทธ์ธุรกิจต้องการนวัตกรรมในสินค้าหรือกระบวนการผลิตสินค้าควรใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้แบบ Personalization Strategyนอกจากนั้น KM Initiative ควรรองรับวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ธุรกิจ วัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการข้อมูล คือ เพื่อลดความไม่แน่นอนและความกำกวมอันเนื่องมาจากมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอ (equivocality) ซึ่งอาจทำให้เกิดการตีความที่ขัดแย้งกัน องค์กรที่ต้องการนวัตกรรมจะพบปัญหาความกำกวมในการตีความ จึงต้องการช่องทางการสื่อสารที่ให้ข้อมูลที่ชัดแจ้ง เช่นการพูดคุยกันซึ่งหน้า ส่วนองค์กรที่ต้องการประสิทธิภาพอาจพบปัญหาเรื่องความกำกวมในการตีความน้อยกว่า กลยุทธ์แบบ Codification Strategyจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้มากกว่า

        เป็นไปได้ที่บางองค์กรใช้ทั้งสองกลยุทธ์  Codification และ Personalization ไม่ใช่กลยุทธ์ที่อยู่กันคนละขั้วแต่เป็นกลยุทธ์ที่สามารถผสมผสานกันได้ ตัวอย่างเช่นบางบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานจะใช้ Codification Strategy เป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ใช้การปรึกษาหารือหรือคุยข่าว (newsgroup) เป็นช่องทางให้พนักงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และผลงานของตนกันได้โดยตรง ยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัดว่าบริษัทที่ใช้ทั้งสองกลยุทธ์นั้นประสบความสำเร็จดีขึ้นเพียงใด แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าการใช้กลยุทธ์แบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียวน่าจะคับแคบไป เช่นการใช้ Codification Strategy และการใช้ความรู้เก่าซ้ำๆ อาจไม่เพียงพอที่จะรับกับความผันผวนและพลวัตในตลาด ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าการให้โอกาสบุคลากรได้มาพบปะหารือกันจะทำให้เกิดนวัตกรรม หากไม่มีการนำความรู้ที่เกิดขึ้นจากการนั้นไปใช้ และยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนพอที่จะกล่าวว่า การจับคู่กลยุทธ์ระหว่าง Efficiency กับ Personalization และระหว่าง Innovation กับ Codification จะทำให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานที่ต่ำลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น