วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลยุทธ์ของการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-KM Strategy)

กลยุทธ์การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นการบูรณาการยุทธศาสตร์จัดการความรู้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่
                   Learning Strategy  เป็นการให้ความสำคัญกับกระบวนการการเรียนรู้ของบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาองค์กรให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
                    Integrated Strategy เป็นกระบวนการบูรณาการการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มาช่วยในการบริหารจัดการความรู้โดยเน้นในรูปแบบของความรู้ที่กระจ่างชัด (Explicit Knowledge)  เฉพาะอย่างยิ่งเน้นในประเด็นของการจัดการจัดเก็บความรู้  การแบ่งปันความรู้เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่  ที่สร้างขึ้นใหม่นั้นสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยได้อีก  ในส่วนนี้จำเป็นต้องมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสนับสนุน
                    Network Strategy  เป็นการให้ความสำคัญกับความรู้ที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย  ไม่ว่าความรู้จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก  หน่วยงานวิจัย  มหาวิทยาลัยทั้งภายในประเภทและต่างประเทศ  รวมถึงความรู้จากองค์กรในอุตสาหกรรมต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย  โดยการสร้างความร่วมมือในรูปแบบของ GUI (G0vernment – University-Industry : GUI) เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมในการถ่ายทอดและบูรณาการความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุก่วนที่เกี่ยวข้อง
                     Knowledge Strategy  เป็นการบริหารจัดการ สร้างและใช้ประโยชน์จากความรู้ภายในมหาวิทยาลัยทั้งในส่วนของความรู้ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นความรู้แฝง (Tacit knowledge) และความรู้แบบกระจ่างชัด (Explicit knowledge) ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้  ถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งสร้างและใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น