วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดการบริหาร

แนวคิดการบริหาร
1.แนวความคิดการบริหาร/การจัดการสมัยเดิม หรือการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Management)
แนวความคิดการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดย Frederick W. Taylor "บิดาแห่งการจัดการที่มีหลักเกณฑ์" ซึ่งเป็นผู้ต้นคิดสำคัญในการวางหลักการ และทฤษฎีการจัดการที่ถูกต้องขึ้นเป็นครั้งแรก จากการศึกษาวิธีการปฏิบัติงานด้านการผลิตในระดับโรงงานเป็นครั้งแรกนั้น Taylor ได้ประกาศใช้หลักการต่าง ๆ (principles) ที่เขาใช้ในการปฏิบัติงานหรือที่เรียกว่า "การจัดการที่มีหลักเกณฑ์" (scientific management)
นอกจาก Taylor แล้ว นักวิทยาศาสตร์ที่มีแนวคิดนี้ ยังมี
· Henry Gantt : Gantt’s Chart และการประกันค่าจ้างต่ำสุด
· Frank Bunker Gilberth And Lillian Moller Gilbert : Therblig Motion และ Motion study
· Harrington Emerson : The twelve Principle of efficiency
2.แนวคิดแบบมนุษย์สัมพันธ์
· การบริหาร/การจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human relations) เหตุที่แรงงานได้รับความสนใจมากขึ้น ทำให้ความสนใจที่จะเข้าใจในตัวคนงานและความต้องการต่าง ๆ ของคนงานมีมากขึ้นเป็นพิเศษ และทำให้เกิดเรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์ขึ้นมา โดยเฉพาะจากโครงการศึกษาที่โรงงาน “Hawthrone” โดย Elton Mayo
· การบริหาร/การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral sciences) เป็นการศึกษาการจัดการองค์การในแนวใหม่ ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า ทฤษฎีคลาสสิกใหม่ (New classical Theory) การศึกษาเชิงพฤติกรรมให้ข้อคิดเห็นว่า ความต้องการทางอารมณ์และร่างกายของมนุษย์ประกอบเป็นพื้นฐานขององค์การ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เองจากการรวมตัวของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการผลประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน
3.แนวความคิดการบริหาร/การจัดการสมัยใหม่
· การบริหาร/การจัดการแบบการตัดสินใจ(Decision Approach) ในการพิจารณาองค์การและการจัดการนั้นกระบวนการตัดสินใจนับเป็นสิ่งสำคัญของผู้บริหาร ดังที่ เฮอร์เบิร์ท เอ ไซมอน (Herbert A. Simon) ได้ระบุไว้ว่า "การตัดสินใจ" กับ "การจัดการ" เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ที่กล่าวเช่นนี้หมายความว่า การจัดการคือ การตัดสินใจนั่นเอง ดังนั้นผู้บริหารทั้งหลายจึงไม่สามารถจะหลีกหนีจากเรื่องของการตัดสินใจได้
· วิธีการบริหารตามสถานการณ์ (Contigency or Situational Approach) เป็นวิธีวิเคราะห์ในระดับที่ถูกต้องเหมาะสม ที่สามารถพิจารณาปัญหาได้ดี ไม่กว้างเกินไปหรือเฉพาะจุดเกินไป หากแต่จะเป็นการวิเคราะห์ที่ดีที่สุดที่มีความสมดุลในระหว่างหลาย ๆ อย่างที่กระทำได้ คือ สามารถพิจารณาปัญหาได้ชัดแจ้งและง่าย (simplistic) สามารถใช้หลักทฤษฎีต่าง ๆ ได้ถูกต้อง (specific principles) และยังสามารถพิจารณาถึงสิ่งต่างๆที่ยุ่งยากสับสนและไม่ชัดแจ้งได้พร้อมกันอีกด้วย จุดมุ่งหมายของวิธีการตามสถานการณ์นั้นก็คือ "ตัวสถานการณ์" ซึ่งมีอิทธิพลต่อองค์การมากที่สุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และด้วยการมุ่งเน้นถึงความสำคัญของ "การติดตามสถานการณ์" นี้เอง จึงช่วยให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจได้ว่าภายใต้สถานการณ์เฉพาะนั้น ๆ ผู้บริหารควรจะใช้เทคนิคการจัดการอะไร จึงจะทำให้องค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จมากที่สุดได้ วิธีการจัดการตามสถานการณ์ จึงเท่ากับเป็นการช่วยย่นเวลาการสร้างสมประสบการณ์ของนักบริหาร ที่เคยต้องค่อย ๆ พิจารณานำเอาหลักการแต่ละอันมาฝึกฝนประยุกต์ใช้อย่างช้า ๆ ให้สามารถคิดวิเคราะห์กับสถานการณ์ได้ในทันที
· แนวความคิดเชิงระบบ (System Approach) มีความเชื่อว่า การจัดการมีลักษณะต่อเนื่องกันและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งต้องพึ่งพาอาศัยซึงกันและกันของหน่วยงานย่อยต่าง ๆ กับส่วนรวมทั้งหมด ความสำเร็จในการจัดการขององค์การขึ้นอยู่กับการจัดการของทุกระบบมิใช่ะบบหนึ่งระบบใด ความสำเร็จในการจัดการขององค์การซึ่งถือว่าเป็นระบบรวม (Total system) ต้องอาศัยความสำเร็จของระบบย่อยทุกระบบ แนวความคิดเชิงระบบนี้ อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 แนวทาง คือ
1. ระบบปิด หรือ ระบบราชการหรือระบบอย่างเป็นทางการหรือระบบเครื่องจักรกล
2. ระบบเปิด หรือระบบเสรีหรือระบบไม่เป็นทางการหรือระบบเพื่อนฝูง
· แนวความคิดเกี่ยวกับกระบวนการ การพิจารณาตามแนวความคิดนี้ก็คือ ผู้บริหารจะปฏิบัติหน้าที่บริหารด้วยวิธีกระทำเป็นทีละขั้นตอน (step by step) ที่ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไปอย่างเป็นระเบียบโดยไม่ขาดตอนจากกัน ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้
- การวางแผน
- การจัดองค์การ
- การจัดคนเข้าทำงาน
- การสังการ
- การควบคุม

ทรัพยากรในการบริหาร
ทรัพยากรการบริหารหรือปัจจัยพื้นฐาน (Administrative resources) ที่ใช้ในการบริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ
1.คน (Man)
2.เงิน ( Money)
3.วัสดุสิ่งของ (Material)
4.วิธีจัดการ (Management)
หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า 4M.s การที่จัดว่าปัจจัยทั้งสี่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการบริหารก็เพราะเหตุว่า ในการบริหารเกือบทุกประเภทจำเป็นต้องอาศัย คน เงิน วัสดุสิ่งของ และวิธีจัดการเป็นองค์ประกอบสำคัญ ไม่ว่าการบริหารนั้นจะเป็นการบริหารราชการหรือการบริหารธุรกิจก็ตาม จำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรพื้นฐานในการบริหารมีอยู่สี่ประการดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบันได้มีการพิจารณาทรัพยากรการบริหารไปในลักษณะที่มีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ถือว่าปัจจัยหรือทรัพยากรการบริหารได้เพิ่มขึ้นจากปัจจัย 4 ประการที่กล่าวมาแล้ว เช่น ศาสตราจารย์William T. Greenwood ได้ให้ความเห็นว่า ทรัพยากรการบริหารควรมีอย่างน้อย 7 ประการคือ คน (Man)เงิน ( Money) วัสดุสิ่งของ (Material) อำนาจหน้าที่ (Authority) เวลา (Time) กำลังใจในการทำงาน (Will)
และความสะดวกต่าง ๆ (Facilities)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น