วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

วิชา การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ หลักการบริหารจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบัน

หลักการสำคัญของการจัดการการเปลี่ยนแปลง
1. การวางแผนและเตรียมการ
• การกำหนดระยะเวลา  ระยะเวลาในการทำงานที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น  เพราะว่าการเริ่มต้นทำงานเร็วเกินไปนั้น  ทำให้ขาดการวางแผนและขาดการสนับสนุนที่เพียงพอ   ในทางกลับกันการเริ่มต้นทำงานช้าเกินไป  อาจทำให้สูญเสียผลประโยชน์บางอย่างได้
• การสร้างการสนับสนุน  ซึ่งต้องพิจารณาว่าใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง  และบุคลผู้นั้นจะตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร  ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจว่าในสถานการณ์ใดที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
• การสื่อสาร  ผู้บริหารจะต้องแจ้งให้พนักงานที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง  ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า  โดยแจ้งให้ทราบถึง เหตุผลของการเปลี่ยนแปลง  และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง  ประเด็นที่สำคัญในการสื่อสารคือ  ให้ความสนใจกับบุคากรที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการทำงาน
 การมีส่วนร่วม  ความร่วมมือจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถอีกทั้งสร้างการสนับสนุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้  และทำให้แผนงานได้รับการยอมรับมากขึ้น  สามารถสร้างความไว้ใจจากพนักงานได้  เพราะว่าพนักงานเป็นผู้มีส่วนร่วมในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง
• การจูงใจ  เป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลง   การสื่อให้ทราบถึงผลกระทบในทางบวกที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น  สามารถสร้างการสนับสนุนได้มากขึ้น  โดย เฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสิ่งจูงใจสำหรับผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้น จะสามารถลดปัญหาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงได้
2. การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ทางเลือกในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  ทางเลือกนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดปัญหาในการประเมินการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องการทางเลือกหลายทางในเวลาเดียวกัน เช่น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์  วัฒนธรรม และโครงสร้างองค์การจะต้องมีความสัมพันธ์กัน เป็นต้น
3. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
เหตุผลในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดความเสี่ยงและภัยคุกคามต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง  เพราะสมาชิกในองค์การต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เคยชิน  ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจจึงเกิดการต่อต้านขึ้น  โดยการต่อต้านจะมีหลายสาเหตุ ได้แก่
• สาเหตุส่วนบุคคล  เนื่องมาจากความกังวลว่าการเปลี่ยนแปลง  จะทำให้เกิดอุปสรรคต่อตนเอง  เมื่อเกิดความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นมาได้ โดยเฉพาะเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
• เกิดจากการขาดความเข้าใจและความมั่นใจ  เมื่อเกิดความไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง  หรือไม่แน่ใจในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง  หรือไม่เชื่อมั่นในตัวผู้นำว่าจะสามารถนำพาไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้
• ความไม่แน่นอน เมื่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน  จะส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอน  เนื่องจากจะทำให้เกิดความกลัวในสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือวิตกกังวลต่อรูปแบบใหม่ ๆ ที่องค์การจะนำมาใช้
• มองเห็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของแผนการเปลี่ยนแปลง  เนื่องจากความใกล้ชิดกับงานจะทำให้ทราบถึงข้อจำกัดของกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ว่า  มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานแบบเดิมหรือไม่  ซึ่งหากนักบริหารยอมรับและเข้าใจ  จะเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อจัดการความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• การรับรู้  การรับรู้ของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน  เมื่อได้รับผลกระทบจะทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น  ซึ่งก็จะมีความรุนแรงและความแตกต่างกันไป  ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ ให้กับสมาชิกในองค์การ
• ความเฉื่อยชา  พนักงาน ในองค์การจะรู้สึกสบายเมื่อทำงานในวิธีการเดิมที่ทำอยู่มากกว่าเปลี่ยนแปลง รูปแบบวิธีการทำงานใหม่เพราะว่าไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น
• ความไม่ไว้ใจ  ถ้าการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดผลในเชิงบวกในอนาคต  พนักงานจะเกิดความสงสัยว่าเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต
• การขาดแคลนข้อมูล  เกี่ยวกับความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง  และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

• การต่อต้านผลที่เกิดขึ้น  การประเมินถึงผลกระทบในทางบวกและทางลบที่จะเกิดขึ้น   พนักงานจะพยายามป้องผลประโยชน์ของตนเอง  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้พนักงานสูญเสียผลประโยชน์
ที่มา  http://library.vu.ac.th/km/?p=557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น