วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

วิชา การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ การประยุกต์ใช้การบริหารจัดการในภาวะการเป็นผู้นำเเละติดตามในสถานการณ์

    

      การบริหารจัดการ การคิดอย่างเป็นระบบ และภาวะผู้นำ

ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
                การบริหารและการจัดการมักจะเป็นคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ แต่ในความเป็นจริง การบริหารจะเน้นในเรื่องของการจัดการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยมักจะใช้กับการบริหารในหน่วยงานของรัฐ  ส่วนการจัดการจะใช้ในงานที่เกี่ยวกับภาคเอกชน
ปัจจัยทางการบริหารจัดการ
            ปัจจัยที่สำคัญของการบริหารทั่วไปมี 4 ประการ
1. คน
2. เงิน
3. วัสดุสิ่งของ
4. การจัดการ
ทักษะที่จำเป็นสำหรับการบริหาร (Management Skill)
1. ทักษะด้านเทคนิควิธี (Technical Skills)
            คือ ความสามารถในการใช้ความรู้ วิธีการ เทคนิค และ เครื่องมือที่จำเป็น เพื่อผลสำเร็จของงานที่ได้มาจากประสบการณ์ การศึกษา และการฝึก อบรม เพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทักษะด้านมนุษย์ (Human Skills) 
                คือ ความสามารถในการตัดสินใจทำงานร่วมกับคนอื่นและทำให้คนอื่นให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การจูงใจคน และการประยุกต์ภาวะผู้นำมาใช้ในการบริหารงาน
3.  ทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills)
                คือ ความสามารถในการมององค์การได้อย่างทะลุปรุโปร่ง  เพื่อทำให้องค์การมีความสมบูรณ์โดยส่วนรวม ด้วยการทำให้การทำงานของแต่ละบุคคลเหมาะสมกับองค์การ  ศาสตราจารย์ ดร. เสริมศักดิ์
วิศาลาภรณ์ให้ความเห็นว่า  ทักษะด้านความคิดรวบยอดเป็นความสามารถของผู้บริหารที่จะเข้าใจความซับซ้อนทั้งหมดขององค์การ มีความสามารถมองเห็นองค์การในภาพรวม


การคิดอย่างเป็นระบบ
               System Thinking หมายถึง วิธีการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว วิธีการคิดอย่างมีระบบ จะเป็นหนทางไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ถ้าองค์กรนั้น ๆ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและ ยึดหลักให้ พนักงานภายในองค์กร ตระหนักในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการฝึกอบรมการเรียนรู้ของพนักงานองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) จึงทำให้เกิด การเรียนรู้จากตัวเองของพนักงานแต่ละคน เกิดการเรียนรู้ของทีมงาน ทำให้เกิดการสร้างวิสัยทัศน์รวม (Shared Vision) และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทีม (Team Learning)
หลักการคิดหรือการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ประกอบไปด้วย
                ๑.) กำหนดประเด็นปัญหาให้ถูกต้อง อาจกำหนดได้เป็น ปัญหาหลัก และปัญหารอง
                ๒.) ระบุตัวแปรทั้งหมด ที่ทำให้เกิดปัญหา
                ๓.) กำหนดวิธีแก้ไขหรือพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ อาจมีมากกว่า 1 วิธี
                ๔.) เปรียบเทียบวิธีแก้ไข แต่ละวิธี และประเมินดูว่าวิธีการใดสามารถจะนำไปสู่การปฏิบัติได้และจะนำไปสู่การบรรลุผลตามเป้าหมาย
                ๕.) เลือกวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด
                ๖.) นำไปทดลองปฏิบัติ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
                ๗.) ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
                ๘.) แก้ไขเปลี่ยนแปลงจุดที่พกพร่องในวิธีการปฏิบัติงาน
                ๙.) กำหนดมาตรฐานวิธีปฏิบัติงาน
                ๑๐.) สั่งการให้พนักงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
ทฤษฎีระบบ หรือการคิดอย่างกระบวนระบบ (Systemic Thinking)
เป็นการมองโลกอย่างเป็นองค์รวม เป็นพื้นฐานของทั้ง 3 ทฤษฎี มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการคือ
¨    ระบบใหญ่ไม่ใช่ผลรวมของส่วนประกอบย่อย แต่เป็นคุณภาพใหม่ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อย ซึ่งไม่สามารถเข้าใจจากการแยกศึกษาทีละส่วนประกอบได้
¨    ระบบมีโครงสร้างที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ( Hierarchy ) เช่น คนประกอบด้วยส่วนย่อยคือเซลที่รวมกันเป็นระบบ แต่คนก็เป็นองค์ประกอบย่อยของระบบนิเวศน์ ระบบซับซ้อนจะซ้อนกันเป็นชั้น และทุกอย่างสามารถเชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ท่าน ติช นัท ฮัน จึงตอบว่า กระดาษหนึ่งแผ่นที่ให้ดูนั้น มองเห็นดวงอาทิตย์และก้อนเมฆในกระดาษนั้นด้วย
¨    การจะเข้าใจระบบนั้นต้องมองบริบท ( Context ) หรือปัจจัยแวดล้อมโดยรอบด้วย โดยเฉพาะระบบเปิดที่มีชีวิตนั้น ไม่อาจมองเป็นเส้นตรงได้ ต้องมองอย่างเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันทั้งหมด
¨    ต้องเข้าใจความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ ( Feedback ) การจะเข้าใจปรากฏการณ์ใดต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
¨    การย้ายวิธีคิดแบบโครงสร้าง (Structure) มาสู่กระบวนการ (Process) ถ้าประยุกต์ใช้ในเชิงสังคม การมองแบบโครงสร้างเราจะเห็นกรอบอันเข้มแข็ง ยากจะเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหันมามอง  กระบวนการ เราจะเห็นจุดอ่อน ช่องทางของความสัมพันธ์ที่จะเข้าไปปรับเปลี่ยนได้

ภาวะผู้นำทางการศึกษา
                ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการอิทธิพลทางสังคมที่บุคคลหนึ่งตั้งใจใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่กำหนด รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขององค์การ ภาวะผู้นำจึงเป็นกระบวนการอิทธิพลที่ช่วยให้กลุ่มบุคคลสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
องค์ประกอบของภาวะผู้นำ
องค์ประกอบของภาวะผู้นำมี  4  ประการ  ได้แก่
1.            ผู้นำ
2.            ผู้ตาม
3.            บริบทสถานการณ์
4.            ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
 3  ลักษณะความเป็นผู้นำ
                1.  คุณลักษณะ  เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการพูด มีบุคลิกลักษณะที่ดี
                2.  พฤติกรรม   มีลักษณะเด่นชัดทางพฤติกรรม เช่น พูดดี, มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นต้น
                3.  สถานการณ์   ทำให้เกิดภาวะผู้นำได้ เช่น เรื่องปัญหาพลังงาน, ปัญหาสงคราม, จะส่งผลผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
                สรุป  ผู้นำทางการศึกษา หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถใช้ปัญญาชี้นำ และเป็นต้นแบบที่ด้านการศึกษา
                        ผู้นำทางการศึกษา  จะต้องใช้ความรู้ความสามารถ นำไปสู่ผลงานทางวิชาการในการพัฒนางานหรือผลงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร ให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยเทคโนโลยี และมีความรู้ที่กว้าง
บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
                1.  จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา  รอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ
                2.  ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบ ตัวอย่างที่ดี ผู้นำจึงต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ผู้นำต้องเป็นผู้ยอมรับจากผู้อื่น
                3.  ต้องเป็นนักพัฒนา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง เป็นนักพัฒนา มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี
                4. บทบาทในเชิงบริหาร วิชาการ แก้ปัญหาได้

                5.  บทบาทในการเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด อารมณ์มั่นคง มีความฉลาด มีอารมณ์ดี และมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง
ที่มา  http://www.l3nr.org/posts/523853

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น