วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดการความรู้ กระบวนการสร้างและแลกเปลี่ยนความรู้

  การแลกเปลี่ยนความรู้ 
 การแลกเปลี่ยนความรู้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าการสร้างความรู้ใหม่มีหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่นิยมใช้คือการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการแบ่งปันด้วยการอภิปราย หรือการพูดคุยกันโดยใช้เครื่องมือ เช่น MSN Chat forum blog social network ทั้งแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา โดยหลังจาการแบ่งปันความรู้แล้ว บุคลากรหรือสมาชิกที่แลกเปลี่ยนความรู้กันนั้น จะต้องบันทึกและทบทวนว่าสิ่งที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันนั้น ได้ดำเนินการอย่างไร ได้รับสิ่งใดมาจาการพูดคุย เป็นเทคนิคที่เรียกว่า การทบทวนการปฏิบัติ (After Action Review: AAR)
2 เทคนิคการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการกระตุ้นสมาชิกหรือผู้ที่แลกเปลี่ยนด้วยดังนี้
2.1 เทคนิคการตั้งคำถามให้มาก ไม่มุ่งเน้นคำตอบที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียวถึงแม้แต่สมาชิกหรือผู้ที่แลกเปลี่ยนด้วยนั้นอาจจะเดาก็ยังเป็นการฝึกให้ได้วิเคราะห์ ค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง การกระตุ้นของกลุ่มนั้นบางคนเมื่อรอคำตอบไม่ไหวก็มักจะใช้วิธีการตอบเสียเอง ทำให้สมาชิกไม่เกิดทักษะการคิด วิธีการที่จะช่วยให้สมาชิกคิดหาคำตอบ เช่น การให้สมาชิกคิดคู่หรือเขียนตอบลงในกระดาษ แต่การฝึกตอบหรือแสดงความคิดเห็นออกมาดังๆจะเป็นการดีกว่า เพื่อสามรถให้ผลป้อนกลับแก่สมาชิกได้ทันท่วงที และเป็นการฝึกปฏิภาณไหวพริบในการคิดและตอบของสมาชิกเช่นกัน
2.2  เทคนิคการรับฟัง โดยผู้กระตุ้นต้องตั้งใจฟังและเอาใจใส่ต่อความคิดของสมาชิกหรือผู้ที่แลกเปลี่ยน ด้วยใจที่ไม่มีอคติและเป็นกลาง และเมื่อสมาชิกแสดงความคิดเห็นออกมาเรื่องใด ต้องคอยรับฟังจนจบเสียก่อน ที่จะเปิดให้สมาชิกคนอื่น มีการโต้แย้งหรือแสดงความคิดเห็นได้ และไม่หัวเราะเยาะกับทุกคำตอบหรือทุกความคิดเห็น ที่สมาชิกแต่ละคนแสดงออกมาถึงแม้ว่าคำตอบนั้นจะดูไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากบางคนมีจิตนาการสูงมักจะมีมุมมองที่แตกต่างจากผู้อื่น และควรจะกำหนดให้ยึดถือเป็นกฎกติกาภายในกลุ่มก่อนการแลกเปลี่ยนกัน
2.3 เทคนิคการฝึกสลับให้เป็นผู้ถามและผู้ตอบหรือผู้แสดงความคิดเห็น เพราะการคิดคำถามย่อมหมายความว่าสมาชิกอาจมีคำตอบหรือความคิดเห็นอยู่ในใจ การคิดคำถามเป็นการกระตุ้นความสนใจ และความกระตือรือร้นในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ในการตั้งคำถามที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์



3 เทคนิคการพัฒนาเจตคติ เพื่อการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการกระตุ้นสมาชิกหรือผู้ที่แลกเปลี่ยนด้วยดังนี้
3.1 การมองในแง่บวก ควรเน้นให้สมาชิกมองในแง่บวกให้มาก โดยให้สมาชิกมั่นใจว่าพวกเขาทำได้โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกเช่นเมื่อสมาชิกพบปัญหาที่ยากลำบากต่อการแก้ไข ผู้ดำเนินการกลุ่มควรช่วยเหลือให้กำลังใจให้สมาชิกคิดทางแก้ไขไม่ล้มเลิกไปง่าย และให้เวลาโอกาสในการคิด พิจารณา ไม่รีบด่วนปฏิเสธว่าทำไม่ได้
3.2 กล้าที่จะเห็นต่าง ผู้ดำเนินการกลุ่มต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกมีความคิดที่แตกต่าง แต่มิได้หมายความว่าความคิดของสมาชิกจะดีและถูกต้องเสมอไป ต้องคอยแนะนำแก้ไข ทั้งแสดงให้สมาชิกเข้าใจด้วยว่าได้เคารพในความคิดของสมาชิกเช่นกัน หรืออาจให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยการที่ให้ช่วยกันตั้งเกณฑ์ในการตัดสินใจในการโต้แย้งนั้นๆ เพราะการตัดสินถูกผิดสามารถทำได้ถ้ามีเกณฑ์ที่สมเหตุสมผล และในบางครั้งอาจได้ความคิดบางอย่างที่ดีกว่าความคิดที่ผ่านมา และเป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ที่สำคัญที่ควรเน้นเป็นกติกาของกลุ่มคือต้องเคารพในความคิดเห็นของสมาชิกไม่ว่าความคิดนั้นจะดีหรือไม่ก็ตาม เพราะลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะที่สำคัญของการส่งเสริมสมาชิกให้มีอิสระในการคิดสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ต่อไปในอนาคต
3.3 เปิดการรับรู้ให้กว้าง ความอยากรู้อยากเห็น การเรียนรู้จากผู้อื่น การเปิดรับข้อมูลและประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นลักษณะนิสัยของนักคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นกลุ่มต้องเน้นให้สมาชิกเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง โดยการมอบหมายงานให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้หลายๆแห่งที่หลากหลายมากขึ้น เช่นการรับฟังข้อมูลข่าวสาร อ่านหนังสือพิมพ์ เล่นอินเทอร์เน็ต หรือห้องสมุด และเปิดโอกาสให้สมาชิกมาเล่าเรื่องที่ได้รับมอบหมายและที่ได้ค้นคว้ามาประมาณ 5-10 นาที โดยหมุนเวียนหัวข้อไปตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่กลุ่มช่วยกันตั้งไว้
3.4 กล้าเสี่ยง ผู้ดำเนินการกลุ่มต้องพยายามเพิ่มความท้าทายให้กับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกคิดหาวิธีการหรือแนวทางเลือกใหม่ ที่ไม่ใช่แบบเดิม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม เช่น สมาชิกบางคนอาจเสนอความคิดแปลกใหม่มา ผู้ดำเนินการกลุ่มอาจสอบถามภายในกลุ่มให้สมาชิกทุกคนร่วมกันคิดว่าหากทำวิธีนี้หรือพัฒนาสิ่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร และผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เป็นการกระตุ้นให้สมาชิกคิดนอกกรอบได้ด้วย
ที่มา http://203.157.7.7/KM/blog/Comment.php?IDWH=300



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น