วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

องค์ประกอบที่ 7 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน
ข้อเกณฑ์การประเมินผลดำเนินงานหลักฐาน
1สภาสถาบันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า1. กรรมการประจำคณะทุกคนควรได้รับการชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะ โดยเฉพาะข้อบังคับต่างๆ อาทิ ข้อบังคับที่ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลและผู้บริหาร รวมทั้งทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ กรอบทิศทางการพัฒนาคณะ และอัตลักษณ์ของคณะ เพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่มีต่อคณะก่อนที่จะปฏิบัติหน้าที่
2. กรรมการประจำคณะกำกับดูแลคณะไปสู่ทิศทางที่กำหนดร่วมกันระหว่างผู้บริหารคณะและกรรมการประจำคณะ และมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
3. มีการเปิดเผยประวัติกรรมการประจำคณะ รายงานการประเมินตนเอง และรายงานต่อสาธารณชน
7.1-1.1 คำสั่งแต่งตั้งกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-1.2 จดหมายข่าวชาววิทย์ฯ
7.1-1.3 ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ว่าด้วยคุณสมบัติและวิธีการสรรหาคณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน สำนัก วิทยาลัย ศูนย์หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ พ.ศ. 2553
7.1-1.4 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-1.5 รายงานการประเมินผู้บริหาร คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-1.6 ประวัติคณะกรรมการคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-1.7 อัตลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
2ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบัน1. ผู้บริหารและกรรมการประจำคณะ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทิศทางการดำเนินงานและจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนกลยุทธ์ และนำสู่การปฏิบัติที่เป็นระบบชัดเจน โดยมีการกำหนดตัวบ่งชี้คุณภาพ (KPI) ของงานที่ปฏิบัติ มีการพิจารณาจาก 1) มิติการพัฒนาองค์กร เช่น การส่งเสริมให้อาจารย์ บุคลากรมีโอกาสศึกษา เรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 2) มิติการพัฒนา หรือการปรับปรุงกระบวนการหลักของคณะ เช่น การพัฒนาหลักสูตร การปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา ทิศทางการส่งเสริมการวิจัย การบริการวิชาการและสังคม การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 3) มิติผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน งบประมาณ และให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ หรือวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของคณะ อย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจากความคุ้มค่าของการจัดเก็บข้อมูล และการรายงานข้อมูล
กับประโยชน์ที่ได้รับ
2. ผู้บริหารสร้างระบบและกลไกการถ่ายทอดนโยบาย วิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ให้หน่วยงานและบุคลากรทุกระดับทราบและมีความเข้าใจร่วมกัน
3. มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลของคณะให้ทันสมัย นำมาใช้ในการติดตามผลการบริหารสารสนเทศ การรายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้คุณภาพ (KPI) ที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อการตัดสินใจปรับแผนกลยุทธ์ได้อย่างทันการ
7.1-2.1 เว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-2.2 เอกสารระบบและกลไกการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ
7.1-2.3 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-2.4 ใช้ฐานข้อมูลร่วมกับฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
3ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของสถาบันไปยังบุคลากรในสถาบัน1. ผู้บริหารมีการกำกับติดตามผลการนำนโยบายและแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติในการประชุมผู้บริหารปีละ 2 ครั้ง เพื่อทบทวนเป้าหมาย หรือปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสร้างกลไกภายในเพื่อสื่อสารการดำเนินงานไปยังบุคลากรกลุ่มเป้าหมายทุกระดับที่เกี่ยวข้อง
2. ผู้บริหารมีการประเมินผลการดำเนินงานที่สำคัญตามภารกิจของคณะอย่างครบถ้วน รวมทั้งการติดตามผลสัมฤทธิ์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อทบทวนเป้าหมาย หรือปรับแผนการดำเนินงานในรอบปีถัดไป พร้อมแจ้งผลการดำเนินงานไปยังบุคลากรทุกระดับผ่านการสื่อสารภายใน โดยใช้สื่อต่างๆ ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
7.1-3.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
4ผู้บริหารสนับสนุนให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม1. ผู้บริหารมีระบบการสื่อสาร 2 ทาง เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน อันจะทำให้ได้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้บริหารดำเนินการปรับลดขั้นตอนกระบวนการบริหารจัดการโดยการมอบอำนาจในการตัดสินใจแก่ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติการระดับถัดไป เพื่อเพิ่มความคล่องตัว พร้อมกับมีการกำกับและตรวจสอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยมอบอำนาจการซื้อจ้างให้ระดับหลักสูตรดำเนินการตามกรอบแผนงบประมาณ
3. ผู้บริหารมีการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจต่อบุคลากรเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น ภาพการให้รางวัลในแต่ละโอกาส
7.1-4.1 บันทึกการประชุมคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-4.2 ภาพถ่ายการประชุม
7.1-4.3 ตัวอย่างหลักฐานการจัดซื้อ-จัดจ้าง
7.1-4.4 จดหมายข่าวชาววิทย์ฯ
5ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงาน เพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันเต็มตามศักยภาพ1. ผู้บริหารมีการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ร่วมงาน โดยเน้นการเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ เช่น จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น
2. ผู้บริหารเน้นการถ่ายทอดนโยบายในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย เช่น การพัฒนาหลักสูตร และการรับนักศึกษาปี 2555 – 2556 และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเช่น การร่วมกันสังเคราะห์โครงการ
7.1-5.1 คู่มือการปฏิบัติงานของคณาจารย์และบุคลากรคณะวิทย์ฯให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
7.1-5.2 บันทึกการประชุมคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
6ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย1. ผู้บริหารยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นเครื่องมือในการบริหาร ผลักดันการดำเนินงานของคณะให้ไปสู่ทิศทางที่กำหนดร่วมกันระหว่างผู้บริหารคณะและกรรมการประจำคณะ โดยให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
2. ผู้บริหารมีการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในประเด็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องคุณภาพทางวิชาการและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
3. ผู้บริหารมีการเปิดเผยประวัติ มีรายงานการประเมินตนเอง จัดทำรายงานสรุปผลการทำงานและรายงานทาการเงินของคณะต่อกรรมการประจำคณะเป็นประจำทุกปี
4. ผู้บริหารมีการติดตามผลการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายในของคณะ และรายงานการเงินของคณะเสนอต่อสภาคณะเป็นประจำทุกปี
7.1-6.1 ประกาศคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เรื่อง ธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานภายในคณะ
7.1-6.2 รายงานการประเมินผู้บริหาร คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ข้อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
7สภาสถาบันประเมินผลการบริหารงานของสถาบันและผู้บริหารนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม1. กรรมการประจำคณะประเมินผลการบริหารงานของคณะและผู้บริหารตามที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือพระราชบัญญัติของสถาบัน และข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลผู้บริหารและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน หรือตามข้อตกลงที่ทำร่วมกันระหว่างสภาคณะและผู้บริหาร
2. กรรมการประจำคณะยึดหลักการประเมินผลการบริหารงานแบบกัลยาณมิตร กล่าวคือใช้หลักการที่มุ่งเน้นการให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงคณะให้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้บริหารมีการนำผลการประเมินจากกรรมการประจำคณะไปใช้ปรับปรุงการบริหารงาน อาทิ จัดทำแผนการบริหารงาน และรายงานผลการดำเนินงานต่อกรรมการประจำคณะ
7.1-7.1 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะ
7.1-7.2 คำสั่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-7.3 ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัย เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-7.4 ผลการประเมินผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7.1-7.5 แผนปฏิบัติราชการปี 2555 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้
1มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบันอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ หรืออัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และนำมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการหรือแผนยุทธศาสตร์ของคณะ ครอบคลุมพันธกิจ ด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัย โดยมีคณะกรรมการที่กำกับดูแลด้านยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตและการวิจัย มีการประชุมเพื่อกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ทั้ง 2 ด้าน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรของคณะ7.2-1.1 คำสั่ง ควท.ที่ 16/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการติดตามและจัดเอกสารการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2554
7.2-1.2 คำสั่ง ควท.ที่ 172/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้เรื่องการวิจัย และคำสั่งที่ 173/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาดำเนินงาน การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้ เรื่องการวิจัย และการผลิตบัณฑิต
7.2-1.3 รายงานการประชุมการพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้ ครั้งที่ 1,2,3
7.2-1.4 แบบสำรวจความต้องการประเด็นการจัดการความรู้และผลสรุปประจำปีการศึกษา 2554
7.2-1.5 แผนการจัดการความรู้ด้านวิจัย เรื่องทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัย และแผนการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต เรื่องเทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่
7.2-1.6 โครงการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ฯ สู่สถาบันการเรียนรู้ประจำปี 2554
2กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิต บัณฑิต ด้านการวิจัย ได้แก่ กลุ่มคณาจารย์ กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุน พัฒนาตามแผนกลยุทธ์ สอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตทั้ง 5 ด้าน และตามอัตลักษณ์ของคณะ7.2-2.1 บันทึกข้อความเชิญบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนการสอนผ่านระบบ e-Document เข้าร่วมโครงการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ฯ สู่สถาบันการเรียนรู้
7.2-2.2 คำสั่ง มรย.ที่ 1408/2555 เรื่อง ให้ข้าราชการ พนักงานในสถาอุดมศึกษาเข้าร่วมอบรม ภายใต้กิจกรรม “ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัย”
7.2-2.3 คำสั่ง คำสั่ง ควท.ที่ 26/2555 เรื่อง เทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่
3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดคณะวิทยาศาสตร์ได้เชิญบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์เพื่อการวิจัยและเทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่7.2-3.1 โครงการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรสู่สถาบันการเรียนรู้ ภายใต้กิจกรรม “ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์เพื่อการวิจัย” และ “เทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่”
7.2-3.2 ประมวลภาพการจัดการความรู้เรื่อง “ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์เพื่อการวิจัย” และ “เทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่”
7.2-3.3 บันทึกข้อความที่ ควท.0559/พิเศษ เรื่องขอเชิญวิทยากร ผศ.พรรณี แพงทิพย์ และบันทึกข้อความขอเชิญวิทยากร ดร.ศิริชัย นามบุรี
7.2-3.4 รายงานการประชุมและการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกแผนการจัดการความรู้
4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ มีการรวบรวมความรู้ และเผยแพร่ความรู้ผ่านเว็บไซต์ของคณะ และสื่อสังคมออนไลน์ จดหมายข่าวชาววิทย์ มีการยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นเจ้าของความรู้ เช่น ดร.ศริริชัย นามบุรี และผศ.พรรณี แพงทิพย์ ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยและเทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้านสารวิจัยและการผลิตบัณฑิต7.2-4.1 คู่มือทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัย
7.2-4.2 คู่มือเทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่
7.2-4.3 เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้ซอฟต์แวร์เปิด PSPP สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยผ่านระบบสารสนเทศ
7.2-4.4 เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรใหม่ผ่านระบบสารสนเทศ
7.2-4.5 จดหมายข่าวชาววิทย์
7.2-4.6 รายงานสรุปโครงการการพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้ทั้ง 2 แผนการจัดการความรู้
5มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริงคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรมอบหมายให้ตัวแทนคณะกรรมการประเมินการประกันคุณภาพ รับผิดชอบในการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2553 มาปรับใช้ ติดตามประเมินผล เรื่องแนวทางการขอทุนวิจัยเพื่อสนับสนุนมาใช้ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย และสรุปเป็นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ในประเด็นยุทธศาสตร์7.2-5.1 รายงานวิเคราะห์ความรู้สู่แนวการปฏิบัติ 2 แผนการจัดการความรู้
7.2-5.2 มีแผนการปรับปรุง 2 แผนการจัดการความรู้
7.2-5.3 สรุปรายงานผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ของคณะ
7.2-5.4 รายชื่อผู้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรประจำปีงบประมาณ 2555
ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ
1 มีแผนระบบสารสนเทศ (Information System Plan)มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี 2550-25547.3-1.1 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ 2550-2554
7.3-1.2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ คำสั่งที่ 526/2555 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
2มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่รับผิดชอบและกำกับดูแลระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของมหาวิทยาลัย โดยดูแลด้านเทคนิค ควบคุม ติดตามการใช้ระบบฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่
- ระบบการเรียนการสอน
1. ระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียนกองบริการการศึกษา
2. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อการศึกษา
- ระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการ
1. ระบบบริหารงานบุคคล
2. ระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
3. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
- ฐานข้อมูลการเงิน
1. ฐานข้อมูล Scorecard Cockpit
- ระบบฐานข้อมูลพัสดุ
1. SeniorSoft Professional
- ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูล ThaiLIS
2. ระบบงานวิจัยแห่งชาติ NRPM
7.3-2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ
7.3-2.2 ระบบฐานข้อมูลการบริการการศึกษา
7.3-2.3 ระบบฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติ
7.3-2.4 ระบบฐานข้อมูลบริหารงานบุคลากร
7.3-2.5 ระบบฐานข้อมูลสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
7.3-2.6 ระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
7.3-2.7 ระบบประกันคุณภาพ (CHE QA Online)
7.3-2.8 ระบบงานวิจัยแห่งชาติ NRPM
7.3-2.9 ระบบฐานข้อมูล Scorecard Cockpit
7.3-2.10 ระบบฐานข้อมูล ThaiLIS
7.3-2.11 แผนระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินความพึงพอใจของระบบฐานข้อมูลให้บุคลากรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทำการประเมินซึ่งได้ทำการประเมินไปแล้วจำนวน 1 ครั้ง7.3-3.1 เอกสารแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
7.3-3.2 เอกสารสรุปรายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
7.3-3.3 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลการบริการการศึกษา
7.3-3.4 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลห้อง สมุดอัตโนมัติ
7.3-3.5 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลบริหารงานบุคลากร
7.3-3.6 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
7.3-3.7 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
7.3-3.8 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบประกันคุณภาพ (CHE QA Online)
7.3-3.9 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบงานวิจัยแห่งชาติ NRPM
7.3-3.10 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูล Scorecard Cockpit
7.3-3.11 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูล ThaiLIS
7.3-3.12 เอกสารสรุปการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลงานวิจัยแห่งชาติ NRPM
4มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบและนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนำผลการประเมินมาปรับปรุงแล้ว ก็ยังนำปัญหาที่เกิดจากการใช้งานมาปรับปรุงด้วย7.3-4.1 แผนปรับปรุงสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้จัดส่งข้อมูลด้านนักศึกษา บุคลากร หลักสูตร การเงิน และข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต ผ่านระบบเครือข่ายให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมีการนำส่งข้อมูลประกันคุณภาพการศึกษาผ่านระบบ CHE QA Online ตามระยะเวลาที่กำหนด-http://www.data3.mua.go.th/dataS/
http://202.44.139.26/
ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ระบบบริหารความเสี่ยง
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน1. คณะวิทย์ฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบในแต่ละพันธกิจหลักของสถาบัน
2. คำสั่งมีการระบุรายละเอียดการทำงานของคณะกรรมการหรือคณะทำงาน เช่น นโยบายหรือแนวทางในการดำเนินงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดระยะเวลาให้มีการประชุมของคณะกรรมการหรือคณะทำงานฯ อย่างสม่ำเสมอ
7.4-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (เลขที่คำสั่ง 203/2554 และ 16/2555)
7.4-1.2 กำหนดการประชุมเรื่องการบริหารความเสี่ยงตามตารางการประชุมการประกันคุณภาพการศึกษา ปี 2554
2มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของสถาบัน ตัวอย่างเช่น
- ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่)
- ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของสถาบัน
- ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ
- ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร
- ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
- อื่น ๆ ตามบริบทของสถาบัน
คณะวิทย์ฯมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ เช่น
- ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่)
- ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถาบัน
- ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหาร หลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ
- ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร
- ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
- ความเสี่ยงด้านอื่นๆ ตามบริบทของสถาบัน
1. วิเคราะห์และระบุความเสี่ยงพร้อมปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย หรือความล้มเหลวหรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายในการบริหารการศึกษา
2. ประเด็นความเสี่ยงที่จะนำมาพิจารณาควรมองถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่มีโอกาสเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสถาบันด้านชื่อเสี่ยง คุณภาพการศึกษา รวมถึงความสูญเสียทางด้านชีวิตบุคลากร และทรัพย์สินของสถาบันเป็นสำคัญ
3. ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอาจใช้กรอบแนวคิดในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน อาคารสถานที่ อุปกรณ์ วิธีปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น
4. จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงโดยพิจารณาจากมิติของโอกาสและผลกระทบจากความเสี่ยง
7.4-2.1 รายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ใน 6 ด้าน หรือด้านอื่นๆ
7.4-2.2 รายงานกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการเพื่อทำแผนบริหารความเสี่ยง
7.4-2.3 เอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารความเสี่ยงวันที่ 20 ก.ย. 54
7.4-2.4 ตารางการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง พิจารณาจากมิติของโอกาสและผลกระทบจากความเสี่ยง
3มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2คณะวิทย์ฯ มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 ดังนี้
1. ระดับความเสี่ยงอาจกำหนดเป็นเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพที่สะท้อนถึงความเสี่ยงระดับสูง กลาง ต่ำ ได้
2. ควรมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงทั้งในด้านของโอกาสและผลกระทบ
3. การประเมินโอกาสในการเกิดความเสี่ยงให้ประเมินจากความถี่ที่เคยเกิดเหตุการณ์เสี่ยงในอดีต หรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ในอนาคต โดยคาดการณ์จากข้อมูลในอดีต รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบัน
4. การประเมินผลกระทบของความเสี่ยงให้ประเมินจากความรุนแรง ถ้ามีเหตุการณ์เสี่ยงดังกล่าวเกิดขึ้น โดยจะมีความรุนแรงมาก ถ้ากระทบต่อความเชื่อมั่นต่อคุณภาพทางการศึกษาของสถาบัน ฐานะการเงิน ขวัญกำลังใจและความปลอดภัยของบุคลากร เป็นต้น
7.4-3.1 สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง วันที่ 20 ก.ย.54
7.4-3.2 รายงานการประเมินโอกาส ผลกระทบ จัดลำดับความสำคัญ
7.4-3.3 รายงานประเมินผลกระทบของความเสี่ยง
4มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผนคณะวิทย์ฯ มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผนดังนี้
1. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อการบรรลุเป้าหมาย โดยต้องกำหนดมาตรการหรือแผนปฏิบัติการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรในสถาบัน และดำเนินการแก้ไข ลด หรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
2. สร้างมาตรการควบคุมความเสี่ยงโดยใช้เทคนิค 4T หรือ Take การยอมรับความเสี่ยง Treat การลดหรือควบคุมความเสี่ยง Transfer การโอนหรือกระจายความเสี่ยง และ Terminate การหยุดหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เพื่อลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่สถาบันจะเกดความเสียหาย (ทั้งในรูปแบบของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียง การฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือความคุ้มค่า คุณค่า)
7.4-4.1 แผนบริหารความเสี่ยงคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ปี2554
7.4-4.2 คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
5มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งคณะวิทย์ฯ มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ดังนี้
1. มีการรายงานความกาวหน้าหรือผลการดำเนินงานตามแผนต่อสภาสถาบัน
2. มีการรายงานสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อสภาสถาบัน
7.4-5.1 สรุปรายงานความก้าวหน้าหรือผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ปี 2554
7.4-5.2 สรุปผลการดำเนินงานและประเมิน ผลความสำเร็จ เสนอปัญหา แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะเพื่อปรับ ปรุงแผนการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของคณะวิทย์ฯ
7.4-5.3 รายงานการประชุมสภากรรมการประจำคณะวิทย์ฯ วันที่ 30 เม.ย.2555
6มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไปคณะวิทย์ฯ มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไปเห็นได้จาก แผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีถัดไปควรพิจารณาระดับความเสี่ยงที่เหลืออยู่หลังการจัดการ ความเสี่ยงและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบัน รวมทั้งความเสี่ยงใหม่จากนโยบาย หรือสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในสถาบัน และจากหน่วยงานกำกับ7.4-6.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่างแผนบริหารความเสี่ยงปี 2555 และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานให้มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาประจำคณะไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
7.4-6.2 ร่างแผนบริหารความเสี่ยงปี 2555
7.4-6.3 รายงานการประชุมสภากรรมการประจำคณะวิทย์ฯ วันที่ 30 เม.ย.2555
7.4-6.4 สรุปรายงานความก้าวหน้าหรือผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ความสำเร็จ และสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผล ความสำเร็จ เสนอปัญหา แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแผนการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงคณะวิทย์ฯ
ตัวบ่งชี้ที่ 13 (สมศ.) การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน
-สภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้กำหนดวงรอบการประเมินการปฏิบัติงานของผู้บริหาร (คณบดีและรองคณบดี ผู้อำนวยการสำนักงาน) หลังจากการประเมินคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรตามตัวบ่งชี้ที่ สกอ. กำหนด โดยผู้บริหารจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และสภาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารปีการศึกษา 2553 ได้รับผลการประเมิน 4.58 จากระดับคะแนน 5 คะแนน13-1.1 รายงานการประเมินตนเองของคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประจำปี 2553
ที่มา http://web.yru.ac.th/science/qa/index.php/component/content/article/76/113--7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น