วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและพนักงานยุคใหม่

การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและพนักงานยุคใหม่
ในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเข้มข้น ทุกองค์กรมุ่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  เพื่อปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง  เพื่อความอยู่รอดขององค์กร  และเพื่อการเติบโตในอนาคต  ผู้บริหารและบุคลากรขององค์การเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งกับการอยู่รอดหรือประสบความสำเร็จ  ดังนั้นผู้บริหารแบบเดิมจึงต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
ตารางแสดงการเปรียบเทียบการบริหารแบบเดิมกับการบริหารแบบใหม่
การบริหารแบบเดิม
การบริหารแบบใหม่
1.  ผู้บริหารคือนายจ้าง
2.  มีอำนาจในการตัดสินใจ
3.  ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่เปิดเผย

4.  บริหารจัดการแบบเดิม
5.  บริหารและสั่งการจากบน – ล่าง (Top – Down) ออกแบบไว้ชัดเจน
6.  บริหารงานตามสายการบังคับบัญชา 
ลดหลั่นกันลงมา  คงอำนาจไว้ระดับสูง

7.  บริหารจัดการอยู่ในวงแคบ
8.  การทำงานเหมือนเดิมที่ถ่ายทอดกันมาเฉพาะ ด้าน
9.  ผลิตสินค้าให้สำเร็จและจำหน่ายตามความพอใจของผู้บริหาร
10.ไม่จำเป็นต้องหากลยุทธ์  เพราะไม่มีคู่แข่ง หรือมีน้อย
1.  ผู้บริหาร คือ ผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ พนักงาน
2.  ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
3.  ข้อมูลเปิดเผย  นอกจากข้อมูลที่ทำให้องค์กรเสียหาย
4.  การบริหารจัดการมีเทคนิคใหม่ ๆ โดยมีข้อมูลสารสนเทศ
5.  การพิจารณาสั่งการรับฟังข้อเสนอแนะจาก ระดับล่าง (Bottom – Up) สามารถเปลี่ยนแปลงได้
6.  บริหารงานเป็นคณะทำงาน  ที่ปรึกษา ทำงานเป็นทีม  สายการบังคับบัญชาแบนราบและกระจายอำนาจ
7.  บริหารจัดการกว้างไกล  ไร้พรมแดน
8.  การทำงานมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ใช้
เครื่องจักรมากขึ้น
9.  การผลิตและจำหน่ายยึดความพึงพอใจของ ลูกค้า
10.ต้องคิดหากลยุทธ์ให้เจริญเติบโต  เพราะ คู่แข่งมีมาก
                
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและพนักงานในองค์กร  บางกรณีก็มีการเริ่มเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมไปแล้ว  และก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว  เช่น  เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร  ซึ่งผู้บริหารและพนักงานจะต้องปรับเปลี่ยน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร  ดังนี้
1.  เป็นองค์การที่ทันสมัย (Virtual Organization) มีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสาร  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  สามารถทำงานได้ทุกหนทุกแห่งโดยใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุกส์  แลปทอป  และคอมพิวเตอร์มือถือ  ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นมีการทำงานที่บ้านแทนออฟฟิศ  โดยมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้บริการ  ถ้าพนักงานเข้ามาทำงานในออฟฟิศก็สามารถเข้าไปนั่งโต๊ะใด ๆ ก็ได้  โดยมีคอมพิวเตอร์ประจำโต๊ะเพื่อบอกรหัสผ่านของตนเองว่าวันนี้มาแสดงตน  ญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานไม่ต้องเข้าออฟฟิศให้ได้ 20% ของคนทำงานทั้งหมด  ในปี 2553  การใช้ระบบติดต่อสื่อสารเป็น  Internet Chat Rooms และ Teleconference สำหรับการประชุม
2.  ใช้เทคนิคการบริหารเวลา  (Just in time)  การบริหารวัตถุดิบ และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้ผลิตสินค้าเสร็จตามเวลาส่งมอบให้ลูกค้าทันเวลา โดยไม่ผลิตไว้มากเกินไป มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจูงใจ การให้ค่าตอบแทนที่จูงใจ เพื่อการทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3.  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) จากข้อมูล (Data) ได้มาจากการรวบรวม  ถ้าข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเรียบเรียง  วิเคราะห์  เรียกว่า  Information  ส่วนความรู้เกิดจากกระบวนการที่บุคคลรับรู้  ผ่านกระบวนการคัดเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับความรู้อื่นเป็นความเข้าใจ  และนำไปใช้  และความรู้จะฝังอยู่ในตัวบุคคลเกิดเป็นปัญญา (Wisdom) เพราะเป็นยุคของการแข่งขัน  เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร  ข้อมูลนำมาเป็นฐานในการปรับปรุงเปลี่ยนวิธีการ  ปรับปรุงผลผลิตให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจสูงสุด
4.  การนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ควบคุมการทำงาน (Computerized Coaching and Electronic Monitoring) ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนประกอบในอุปกรณ์ที่ทันสมัย  ใช้ในการควบคุมการทำงาน  ควบคุมการผลิต  เช่น  ในการผลิตหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน  ในโรงพิมพ์มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน  ตั้งแต่การพิมพ์  การขึ้นแท่นพิมพ์ของม้วนกระดาษ  การเรียงพิมพ์  การจัดตามจำนวนใบสั่งของเอเย่นแต่ละแห่ง  และผ่านสายพานลงสู่รถบรรทุกไปส่งตามจุดต่าง ๆ โดยใช้คำสั่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์  ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่เครื่องในโรงพิมพ์  ใช้บุคลากรเพียงไม่กี่คนก็สามารถทำงานได้ปริมาณมากมาย  นอกจากนี้ยังใช้ในระบบต่าง ๆ เช่น การซื้อตั๋วดูภาพยนตร์  การจองตั๋วเครื่องบิน  รถไฟ  และอยู่ในงานอื่น ๆ อีกมาก
5.  ความแตกต่างหลากหลายของพนักงาน (Growth for workers Diversity) การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  มีความหลากลายของบุคลากร  ธุรกิจต่าง ๆ มีการขยายตัวเป็นบริษัทมหาชน  การลงทุนจากต่างชาติ  บริษัทข้ามชาติ  จึงทำให้มีบุคลากรจากประเทศต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจร่วมกัน  ทั้งตำแหน่งพนักงาน  ผู้บริหาร  แตกต่างกันทั้งเพศ  วัย  การศึกษา  และผู้บริหารที่เป็นสตรี  ในปัจจุบันมีธุรกิจติดต่อต่างประเทศซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น WTO , FTA  เป็นต้น
6.  ให้ความสำคัญกับแรงงานทุกวัย (Aging workforce) แรงงานมีอายุต่างกัน  งานบางประเภทใช้ความชำนาญการ  ผู้ที่มีอายุการทำงานมากจะมีประสิทธิภาพดี  แต่งานที่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ผู้สูงอายุมักไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้นจึงมีการสนับสนุนการลาออกก่อนมีการเกษียณอายุ  ในทัศนะของคุณธนินทร์  เจียรวรานนท์  ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท  ซีพี  กล่าวว่า  องค์กรต่าง ๆ ควรมีบุคลากรที่มีอายุต่าง ๆ กัน  ทั้งอายุ  50  ปี  40  ปี  30  ปี  และ  20  ปี  เพื่อการจัดมอบหมายหน้าที่การงานให้เหมาะสมกับความรู้และความสามารถ  และความเหมาะสมของวัย
7.  ความแตกต่างหลากหลายของแรงงาน  ธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก  เช่น  โรงงานผลิตปลากระป๋อง  ผลิตภัณฑ์จากปลา  จะมีแรงงานที่เข้า – ออกอยู่เป็นประจำ จึงทำให้การผลิตบางช่วงช้าลง เนื่องจากแรงงานใหม่ขาดทักษะ ต้องมีการสอนงานใหม่ ๆ
          การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดังกล่าว  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการของผู้บริหาร  และพนักงานต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกับสภาพแวดล้อมทางสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  และเทคโนโลยี
   ที่มา  http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L5/5-3-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น