วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภาวะผู้นำกับการบริหารงานยุคใหม่

ภาวะผู้นำกับการบริหารงานยุคใหม่
หลักการบริหารของผู้นำยุคใหม่ กฎเกณฑ์แห่งการเปลี่ยนแปลง
Vision & Action
1. Vision without Action is merely a Dream
- วิสัยทัศน์ที่ปราศจากการปฏิบัติก็เป็นเพียงความฝัน
2. Action without Vision just passes time
- การปฏิบัติที่ปราศจากวิสัยทัศน์ ก็เป็นเพียงปล่อยเวลาให้ผ่านไป
3. Vision & Action can Change the World.
- วิสัยทัศน์ที่มีการปฏิบัติสามารถเปลี่ยนแปลงโลก
Joel A. Barker
วิสัยทัศน์ Vision
- ไม่ใช่คำขวัญ ไม่ใช่สุภาษิต (Slogan หรือ Motto)
- แต่เป็นการกำหนดทิศทางของธุรกิจ ขององค์การ ของสถาบัน หรือสิ่งที่ปรารถนาในระยะยาว
- วิสัยทัศน์ต้องครอบคลุมเรื่องหลักๆ เรื่องสำคัญๆ ในลักษณะที่เป็นวลีหรือถ้อยคำทั่วๆไป (Generic Phrase) เช่น “เราจะเป็นผู้นำในธุรกิจ.....” “เราจะเป็นผู้นำในการให้บริการที่ดีที่สุด”
- วิสัยทัศน์ต้องวัดได้ หรือรู้ได้ว่ากำลังมาในทิศทางที่กำหนดไว้

ลักษณะวิสัยทัศน์ที่ดี
- วิสัยทัศน์จะถูกกำหนดโดยผู้นำ (โดยรับฟังความเห็นจากผู้บริหารระดับสูง แล้วนำมาประกอบการพิจารณา)
- ต้องนำเสนอให้พนักงานรับรู้ เพื่อทุกคนจะได้ให้การสนับสนุนและร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อทำให้วิสัยทัศน์เป็นความจริงขึ้นมา
- วิสัยทัศน์จะต้องสร้างสรรค์และก่อให้เกิดความบันดาลใจ
- ครอบคลุมเรื่องสำคัญทุกเรื่อง
- ต้องท้าทายใช้ภาษาง่ายๆทุกคนอ่านแล้วเข้าใจ
- ต้องคุ้มค่าแก่ความมานะพากเพียร

หลักปรัชญาในการบริหารของผู้นำ
- มีความอดทน...ต่อสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อรอจังหวะให้โอกาส
- มีความรู้...ทันต่อเหตุการณ์ รู้จักคิด วิเคราะห์ในการแก้ปัญหา
- มองการณ์ไกล...คาดหวังสิ่งที่จะเป็นไปได้ในอนาคต
- มีระบบการบริหารที่ดี...จัดโครงสร้าง มีกระบวนการคัดเลือกสรรหาให้เหมาะสม
- มีประสบการณ์...ย่อมได้เปรียบ ทำให้เกิดความชำนาญ
- ใจกว้าง...ยอมรับฟังความคิดเห็น นำมาปฏิบัติ ปรับปรุงและพัฒนา
- คืนสังคม...ถ้าสังคมไม่ดีการบริหารงานก็มีอุปสรรค
- ติดตามผล...เพื่อจะได้ทราบถึงความก้าวหน้าและความบกพร่อง นำไปสู่การปรับปรุงที่ดีขึ้น

คุณลักษณะของผู้นำ กับลักษณะสังคม 4 ประเภท
นักวิชาการ (นักฝัน...นักคิด)
- รู้ลึก รู้ชัด คิดลึก ใช้เหตุผล ไตร่ตรอง มักพูดถึงอดีต มองลึกด้านเดียว ใจแคบ ใจน้อย ไม่เข้าใจศาสตร์ของผู้อื่น ชอบอิสระเสรี
- นักวิจัย...รู้สึกด้านเดียว แต่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับเรื่องอื่น
- ครู อาจารย์...ชอบสอน บรรยาย สาธยาย
- วิทยากร...ชอบบรรยายความรู้ วิชาการ
ข้าราชการ (เจ้าขุนมูลนาย...หรือนักพัฒนา)
- ทำตัวเป็นนาย ชอบปกครอง สั่งการ ไม่ชอบปฏิบัติ
- ไม่ชอบตัดสินใจ รอฟังคำสั่ง
- ยึดมั่นในกฏ ไม่ชอบเปลี่ยนแปลง
- เช้าชาม เย็นชาม
นักธุรกิจ (นักฉวยโอกาส...แสวงหา ลดความเสี่ยง)
- เวลาเป็นเงินเป็นทอง
- พูดแต่กำไร ราคา การตลาด
- ชอบปฏิบัติ ตัดสินใจ ชอบทำ ไม่ชอบพูด
- มีทักษะในการต่อรอง
- เอาใจข้าราชการ
- ผลิตก่อนผู้อื่น
นักการเมือง (กลิ้งได้)
- ไม่มีมิตรแท้ หรือศัตรูถาวร
- มุ่งประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม
- ชอบพูด ไม่ชอบทำ สร้างภาพ สร้างสถานการณ์
- จุดยืนไม่มั่นคง ต่อรองได้ นักประสานประโยชน์
- น้ำขึ้นให้รีบตัก
- ถ้ามีวิสัยทัศน์ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวมจะเป็นรัฐบุรุษ

ลำดับขั้นของผู้นำระดับ 5

ความถ่อมตน + ความมุ่งมั่น = ผู้นำระดับ 5

ลำดับขั้นของผู้นำ
1. Executive ผู้บริหารระดับ 5 *****สร้างความยิ่งใหญ่ที่ยั่งยืนจากการมี 2 บุคลิกผสมผสานกันระหว่างการอ่อนน้อมถ่อมตน กับความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างแรงกล้า
2. Effective Leader ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล กระตุ้นให้เกิดการอุทิศตัว และมุ่งไปยังวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเข้มงวด กระตุ้นให้กลุ่มมีผลงานที่ได้มาตรฐานสูงส่ง
3. Competent Manager ผู้จัดการที่มีความสามารถ บริหารบุคลากรและทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
4. Contributing Team Member สมาชิกที่มีประโยชน์แก่กลุ่ม ช่วยสนับสนุนให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นในการจัดตั้งกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. Highly Capable Individual บุคคลที่มีความสามารถสูง มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดผลผลิตโดยการให้ความสามารถ ความรู้ ความชำนาญ และอุปนิสัยในการทำงานที่ดี

หลักการบริหารงานให้เกิดความก้าวหน้า
- เลื่อนขั้นตามความสามารถ
- พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- มีระเบียบกฎเกณฑ์
- ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
- การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
- เปิดโอกาศ ส่งเสริมให้มีการอบรม เพิ่มพูนประสบการณ์
- ใจกว้าง ยอมรับแนวคิดใหม่ๆ
- อย่าจับจด ทำอะไรไม่จริงจัง
- ประเมินผลการทำงาน

ภาวะผู้นำกับการบริหาร E.Q.
- ตระหนักในตนเอง (Self – awareness) : การเข้าใจในอารมณ์ของตนเอง ไม่หลงตัวเอง ซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น การรู้จุดด้อยหรือจุดอ่อนของตนเอง
- การควบคุมตนเอง (Self - regulation) : การพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ควบคุมตนให้เกิดความลุ่มหลง
- การมีแรงจูงใจ (Motivation) : เป็นแรงผลักดันที่จะก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำ
- การมีความรู้สึกร่วม (Empathy) : ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- ทักษะในการเข้าสังคม (Social Skill)

เทคนิคการก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหาร
- มนุษยสัมพันธ์
- รู้จักพนักงานทุกตำแหน่ง
- จำชื่อทุกคนให้ได้
- สร้างบรรยากาศในการทำงาน
- ให้ความสนใจกับพนักงานทุกคน
- ให้คำชมเชย ชื่นชม
- คำนึงถึงประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
- เปิดใจกว้าง
- ความนุ่มนวล ผ่อนปรน
- อัชฌาสัยผูกใจคน (นิสัย)
- มีดีที่ปาก
- ไม่ซ้ำเติม
- ให้โอกาศ
- ว่ากล่าวตักเตือน
- สอนงาน
- สิ่งที่ผู้บริหารควรละเว้น
- ความลำเอียง
- สีหน้าเคร่งเครียดตลอดเวลา
- สร้างกฎเกณฑ์
- การสั่งงาน
- ความเงียบ
- ปิดหู ปิดตา ปิดปาก
- ข้อปฏิบัติของการเป็นผู้นำ
- ตั้งเป้าหมาย
- รับฟังคำวิจารณ์
- ลงเรือลำเดียวกัน
- ให้กำลังใจ
- มีส่วนร่วม
- รักฟังความคิดเห็น
- ความพยายาม
- ทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
- เปิดโลกกว้าง
- การกำหนดระบบงาน
- รู้ชัดในจุดมุ่งหมาย
- มอบหมายงาน
- ให้ความแจ่มชัดในงาน
- แบ่งสายงาน
- 5 ส
- สร้างความมั่นใจ
- เคารพเชื่อฟัง
- รักษาคำพูด
- ใช้เหตุและผล
- การควบคุมสถานการณ์
- ให้ความสำคัญ

ผู้นำในศตวรรษหน้า
- มุ่งทั้งงานและมุ่งทั้งคนเท่าๆกัน
- สร้างให้พนักงานมีความเป็นเลิศในทุกด้าน
- เน้นให้ผู้ปฏิบัติแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
- มอบหมายอำนาจ/กระจายอำนาจ
- เน้นการทำงานเป็นทีม
- จะมองผู้ปฏิบัติงานในแง่บวก

ผู้นำ : องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
บทบาทของผู้นำองค์การแห่งการเรียนรู้คือ
- เป็นผู้ออกแบบนโยบาย และกลยุทธ์ขององค์การ
- เป็นครูผู้สนับสนุนการเรียนรู้สำหรับทุกคน
- เป็นผู้รับผิดชอบที่จะสร้างองค์กร
- กำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน
- รับผิดชอบต่อการเรียนรู้

การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
องค์การแห่งการเรียนรู้ (Leaning Organization) หมายถึง องค์การซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม มีการสอนคนของตนเองให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อช่วยให้เข้าใจในสิ่งต่างๆ สามารถเรียนรู้ จัดการ และใช้ความรู้เป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จ ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ระบบขององค์การแห่งการเรียนรู้
ลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้
- ไม่มีชั้นการบังคับบัญชามากเกินไป
- มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ พนักงานมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
- เปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการตัดสินใจ
- มีการปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
- ทุกคนมีบทบาทเสริมสร้างความรู้ และมีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
- มีเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
- มุ่งเน้นคุณภาพ
- ย้ำเน้นความมีกลยุทธ์
- มีบรรยากาศที่เกื้อหนุน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต
มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

อิทธิบาท 4 ธรรมช่วยให้ประสบความสำเร็จ
 ฉันทะ ความพอใจ รักงาน รับผิดชอบ เต็มใจทำ
 วิริยะ ความเพียรพยายาม อดทน
 จิตตะ ความเอาใจใส่ หรือ ความตั้งใจทำ
 วิมังสา การพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง
สังคหวัตถุ 4 ธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจ
 ทาน การให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ
 ปิยวาจา พูดถ้อยคำสุภาพ อ่อนหวาน
 อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน
 สมานัตตตา วางตัวเหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย
พรหมวิหาร 4 ธรรมอันประเสริฐ
 เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข โดยมีความเป็นมิตรไมตรีต่อผู้อื่น มีน้ำใจ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น
 กรุณา ความต้องการช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน โดยเมื่อผู้อื่นมีทุกข์นั้นผู้นำจะต้องมีกรุณา ช่วยบำบัดทุกข์ให้
 มุทิตา ยินดีเมื่อพนักงาน เพื่อนร่วมงานมีความสุข ความสำเร็จมากขึ้น ผู้นำก็จะต้องพลอยยินดี ช่วยส่งเสริมสนับสนุน
 อุเบกขา มีใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง
บทบาทของผู้นำที่สำคัญในทีม
 สร้างความเชื่อถือ และสร้างแรงจูงใจ
 ชี้นำสมาชิกของทีม และกลุ่ม เพื่อให้เกิดผลงาน
 สนับสนุน ช่วยเหลือในเรื่องการตัดสินใจ
 เพิ่มศักยภาพ และความสามารถของทีม
 สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และมีคุณค่าให้กับทีม

บทบาทของผู้นำที่สำคัญในทีม(ต่อ)
 ชี้นำการเปลี่ยนแปลง
 จูงใจนำทีมสู่การดำเนินงานที่มีระดับสูงขึ้น
 มอบหมาย มอบอำนาจ
 สนับสนุนให้สมาชิกขจัดงานที่ไม่สำคัญออกไป

The Strategic Planning Model


ผู้นำระดับสูงที่มีคุณภาพ พลัง สติปัญญา ที่สมดุล
 IQ : Intelligence Quotient
 EQ : Emotional Quotient
 MQ : Moral Intelligence Quotient
 AQ : Adversity Quotient
 OQ : Organizational Intelligence Quotient

การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
 องค์การแห่งการเรียนรู้ (Leaning Organization) หมายถึง องค์การซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม มีการสอนคนของตนเองให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อช่วยให้เข้าใจในสิ่งต่างๆ สามารถเรียนรู้ จัดการ และใช้ความรู้เป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จ ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

ลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้
 ไม่มีชั้นการบังคับบัญชามากเกินไป
 มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ พนักงานมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
 เปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการตัดสินใจ
 มีการปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
 ทุกคนมีบทบาทเสริมสร้างความรู้ และมีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร

 มีเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
 มุ่งเน้นคุณภาพ
 ย้ำเน้นความมีกลยุทธ์
 มีบรรยากาศที่เกื้อหนุน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต
 มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ajarnben&group=22&month=09-2010&date=13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น